ค่าพาย

 เมื่อพายเดย์ (Pi day) กำลังเวียนกลับมาอีกครั้ง เป็นโอกาสที่ดีสำหรับการเรียนรู้ และ

ทำความรู้จักกับค่าพาย ตัวเลขที่มีความสำคัญอีกตัวเลขหนึ่งในเชิงคณิตศาสตร์และฟิสิกส์

ค่าพาย (Pi)

ภาพที่ 1 Pi

ที่มา geralt/Pixabay

          14 มีนาคม ได้รับการยอมรับในโลกคณิตศาสตร์ว่าเป็นวันพาย เนื่องด้วยค่าโดย

ประมาณของพายมีค่าอยู่ที่ 3.14 ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันกับรูปแบบหนึ่งของการเขียนวันที่

คือ เดือน 3 วันที่ 14 เขียนแทน ได้ว่า 3-14 ซึ่งตรงกับค่าของ Pi (π) ผู้ที่หลงใหลในศาสตร์

ทางด้านการคำนวณทั้งหลายจึงยึดถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันพาย

"พาย” ค่าคงที่ที่ไม่สิ้นสุด

          ค่าพายหรือสามารถเขียนแทนด้วยตัวอักษรกรีกอย่าง "π” เป็นค่าคงที่ค่าหนึ่งที่มี

ความสำคัญต่อการคำนวณค่าทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งตามนิยามนั้น

ค่าพายคืออัตราส่วนของความยาวของเส้นรอบวงต่อความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางของ

วงกลม

          นอกจากนี้ค่าพายยังเป็นจำนวนอตรรกยะ (Irrational number) ซึ่งเป็นจำนวนจริง

ประเภทหนึ่งที่สามารถเขียนในรูปของทศนิยมได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดและมีรูปแบบที่ไม่ซ้ำกัน

จึงทำให้นักคณิตศาสตร์และผู้ที่ชื่นชอบในศาสตร์แห่งตัวเลขพยายามที่จะคำนวณค่าที่

แท้จริงของพาย ให้ได้ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ค่าโดยประมาณของพาย

ค่าโดยประมาณของพาย (Pi)

ภาพที่ 2 ค่าโดยประมาณของ Pi

ที่มา aitoff/Pixabay

 

         ในชั่วโมงเรียนคณิตศาสตร์ เชื่อว่านักเรียนหลายคนต้องได้รับมอบหมายให้คำนวณหา

พื้นที่วงกลมและเส้นรอบวง และในคาบเรียนนั้นเอง นักเรียนเหล่านั้นจะได้รู้จักกับค่าคงตัวที่

เป็นส่วนหนึ่งของสูตรคณิตศาสตร์อย่างพาย  ซึ่งมีค่าโดยประมาณอยู่ที่ 3.14 หรือ

3.14159ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้จำนวนตำแหน่งทศนิยม แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้ทศนิยมเพียง

สองตำแหน่งในการคำนวณ

ประวัติศาสตร์ของค่าพาย  

          แม้จะเป็นเรื่องยากในการระบุผู้คิดค้นค่าพาย แต่ก็มีหลักฐานเก่าแก่ย้อนไปเมื่อ 1,900

ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นหลักฐานการคำนวณหาพื้นที่วงกลมของชาวบาบิโลนโบราณที่มีการ

ใช้ค่าคงที่ค่าหนึ่งคูณกับรัศมีของวงกลมยกกำลังสอง โดยแผ่นจารึกโบราณ (ประมาณ

1900-1680 ก่อนคริสต์ศักราช) ที่พบระบุว่า ค่าคงที่ค่าหนึ่งนั้นมีค่าประมาณ 3.125 ในขณะ

ที่หลักฐานการคำนวณหาพื้นที่วงกลมของชาวอิยิปต์โบราณในช่วง 1650 ปีก่อนคริสตกาล มี

การใช้ค่าคงที่อยู่ที่ 3.1605

          การคำนวณหาค่าคงที่ที่ถูกต้องของพาย เริ่มต้นในยุคของอาร์คิมีดีสช่วง 287-212 ปี

ก่อนคริสต์ศักราช เป็นการคำนวณหาพื้นที่วงกลมโดยอาศัยการวาดภาพหลายเหลี่ยมขึ้นทั้ง

ภายในวงกลมและนอกวงกลมเพื่อจำกัดพื้นที่ให้ใกล้เคียงกับวงกลมมากที่สุด โดยค่าที่นัก

คณิตศาสตร์ชาวกรีกท่านนี้คำนวณได้นั้นเป็นค่าประมาณใกล้เคียงจากการใช้ภาพหลาย

เหลี่ยมซึ่งมีด้านถึง 96 ด้าน และวิธีของอาร์คีมิดิสก็ทำให้ได้ค่าพายมีค่าอยู่ระหว่าง 3.1408

และ 3.14285

รูปหลายเหลี่ยมของอาร์คิมิดีส (Archimedes’ Polygons)

ภาพที่ 3 Archimedes’ Polygons

ที่มา Wikipedia

 

          ต่อมาในระหว่างปี 429-500 จู ฉงจือ นักคณิตศาสตร์ชาวจีน ได้ใช้วิธีการเดียวกันใน

การประมาณค่าพาย โดยในการคำนวณครั้งนี้ใช้ภาพหลายเหลี่ยมซึ่งมีจำนวนด้านที่มากถึง

12,228 ด้าน และค่าประมาณที่ได้อยู่ระหว่าง 3.1415926 กับ 3.1415927  นับเป็นค่าที่

คำนวณได้ใกล้เคียงค่าพายเป็นอย่างมาก (จุดทศนิยม 6 ตำแหน่ง) และยังคงมีนัก

คณิตศาสตร์อีกหลายท่านที่ได้พยายามคำนวณค่าคงที่ดังกล่าวให้ได้ใกล้เคียงมากที่สุดเรื่อย

มา

          ในปัจจุบันเรามีคอมพิวเตอร์ช่วยอำนวยความสะดวกในการคำนวณแล้ว จึงทำให้การ

หาค่าพายเป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น และแน่นอนว่าค่าคงที่ค่านี้ก็ยังคงเป็นค่าที่

ไม่มีจุดสิ้นสุด ทั้งยังไม่พบรูปแบบที่ซ้ำกันเลยในจุดทศนิยมหลายล้านล้านหลัก

 

ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจของพาย

  • การใช้สัญลักษณ์แทนค่าคงที่ด้วยตัวอักษรกรีก "π” เริ่มต้นครั้งแรกในปี 1,707 โดย
  • วิลเลียม โจนส์ นักคณิตศาสตร์ชาวเวลส์  และมีความนิยมมากขึ้นเมื่อเลออนฮาร์ด ออยเลอร์
  • นักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวสวิส ได้นำตัวอักษร π มาใช้เพื่อแสดงถึงอัตราส่วนระหว่าง
  • ความยาวของเส้นรอบวงต่อความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมใด ๆ ในปี 1,737

  • ค่าของพายเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการแก้โจทย์ปัญหาเรขาคณิตที่เกี่ยวข้องกับวงกลมด้วย

  • ค่าพายเป็นค่าที่ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่พบรูปแบบที่ซ้ำกัน ทั้งนี้ในหนึ่งล้านหลักแรกของจุดทศนิยม
  • ก็ยังไม่พบลำดับของตัวเลข  123456 อีกด้วย

  • ค่าของพายสามารถคำนวณหาขนาดของจักรวาลได้อย่างถูกต้อง ด้วยตัวเลขนัยสำคัญ
  • 39 หลักเท่านั้น (3.14159265358979323846264338327950288420)

  • วันพายเริ่มต้นขึ้นที่ San Francisco's Exploratorium โดยลาร์รี ชอว์ นักฟิสิกส์ที่ทำงานใน
  • กลุ่มงานอิเล็กทรอนิกส์ของพิพิธภัณฑ์ โดยเริ่มเฉลิมฉลองในวันที่ 14 มีนาคม 1988
  • ร่วมกับเจ้าหน้าที่ในพิพิธภัณฑ์ โดยการเฉลิมฉลองได้เติบโตขึ้นเพื่อดึงดูดผู้ที่ชื่นชอบคณิตศาสตร์
  • ในทุกสาขาวิชา

ความเป็นมาขออง pi
คณิตศาสตร์ ป.5 เปิดดู 47 ครั้ง

ช่องของ ครูวิไลวรรณ ุสุระวนิชกุล

โรงเรียนโรงเรียนบ้านหว้าน สพป.อุดรธานี เขต 1





พาย (Pi, π) สูตรคณิตศาสตร์มหัศจรรย์

โดย : พรรณพร กะตะจิตต์

บทความนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) https://www.scimath.org/article-mathematics/item/7750-pi



แสดงความคิดเห็น




การคูณทศนิยมด้วย 10 100 และ 1,000 (Video)
ศิรินภา โสภณ
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 35 ครั้ง
คณิตยาก ง่าย
นะวมิณฑ์ ไผ่ป้อง
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 45 ครั้ง
การบวกเศษส่วน
อธิวัฒน์ หอมอ่อน
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 36 ครั้ง
การหารเศษส่วนกับจำนวนนับ คณิตศาสตร์ ป.5
อมเรศ จิตะรักษ์
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 36 ครั้ง
วิชาคณิตศาสตร์ ชั้น ป.5 เรื่อง การบวก ลบ คูณ หา
พิเชาวน์ องค์อนุรักษ์
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 47 ครั้ง
การหารทศนิยมด้วยจำนวนนับ
ศิรินภา โสภณ
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 34 ครั้ง
การหารเศษส่วน ห้องเรียนครูแพม
หนึ่งฤทัย ชัยรส
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 27 ครั้ง
บทความ การเปรียนเทียบเศษส่วนด้วยจำนวน 1/2
ศรีประภา บุญหล่า
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 32 ครั้ง
บทความ การหารทศนิยมด้วยจำนวนนับ
ศิรินภา โสภณ
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 29 ครั้ง
การอ่านแผนภูมิแท่งที่มีการย่นระยะ
วิไลวรรณ ุสุระวนิชกุล
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 39 ครั้ง
การหาเศษส่วนที่เท่ากับเศษส่วนที่กำหนดให้ คณิตศา
อมเรศ จิตะรักษ์
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 35 ครั้ง
การบวกเศษส่วน YT
อธิวัฒน์ หอมอ่อน
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 41 ครั้ง
ใบความรู้ เรื่อง เศษส่วน
พิเชาวน์ องค์อนุรักษ์
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 77 ครั้ง
ลักษณะของสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม
พรรณนรา ทิพย์จรูญ
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 43 ครั้ง
การหารทศนิยมด้วยจำนวนนับ (Video)
ศิรินภา โสภณ
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 30 ครั้ง
การคูณทศนิยมด้วย 10 100 และ 1,000
ศิรินภา โสภณ
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 35 ครั้ง
ลักษณะของสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม
ศรีประภา บุญหล่า
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 29 ครั้ง
08_ผลคูณของทศนิยมกับจำนวนนับโดยใช้ความสัมพันธ์ร
ยุทธการ ทหารนะ
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 66 ครั้ง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง จำนวน 1/2
ศรีประภา บุญหล่า
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 34 ครั้ง
พีระมิด คณิตศาสตร์ ป.5
ณัฏฐิญา เคนทุม
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 42 ครั้ง
การบวก ลบ คูณหารทศนิยม
วิไลวรรณ ุสุระวนิชกุล
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 39 ครั้ง
การหารเศษส่วนกับเศษส่วน คณิตศาสตร์ ป.5
พิเชาวน์ องค์อนุรักษ์
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 39 ครั้ง
ความเป็นมาขออง pi
วิไลวรรณ ุสุระวนิชกุล
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 47 ครั้ง
เศษส่วนที่เท่ากับจำนวนนับ คณิตศาสตร์ ป.5
อัคคเดช หันประดิษฐ์
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 41 ครั้ง
แผนภูมิแท่งย่นระยะ คณิตศาสตร์
นงนภา ศิริเวช
คณิตศาสตร์... ป.5
เปิดดู 40 ครั้ง

OBEC PLAY Education Platform | Powered By Spirit Team