แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

 

สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์             รายวิชา วิทยาศาสตร์                     รหัสวิชา ว13101

ชั้นประถมศึกษาปีที่  3                   ภาคเรียนที่ 1                             ปีการศึกษา 2561

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1   เรื่อง  พ่อ แม่ ลูก                                                เวลา  1  ชั่วโมง

วันที่............เดือน..........................................พ.ศ.......................ครูผู้สอน............................................................

**********************************************************************************

1. สาระสำคัญ  

     ลูกมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนพ่อหรือแม่ เช่น มีสีผิวขาวเหมือนแม่ มีผมหยิกเหมือนพ่อ ลักษณะที่เหมือนและไม่เหมือนกันนี้จึงทำให้คนแต่ละคนมีลักษณะที่แตกต่างกัน

 

2. ตัวชี้วัดชั้นปี

1. อภิปรายลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตใกล้ตัว (ว 1.2 ป. 3/1)

2. เปรียบเทียบและระบุลักษณะที่คล้ายคลึงกันของพ่อแม่กับลูก (ว 1.2 ป. 3/2)

 

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายลักษณะของตนเองที่เหมือนพ่อหรือแม่ได้ (K)

2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)

3. ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)

4. สื่อสารและนำความรู้เรื่อง พ่อ แม่ ลูกไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (P)

 

4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้

ด้านความรู้ (K)

ด้านคุณธรรม จริยธรรมและ           เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (A)

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

1.     ซักถามความรู้เรื่อง พ่อ แม่ ลูก

2.     ประเมินกิจกรรมฝึกทักษะระหว่างเรียน

3.     ทดสอบก่อนเรียน

1.     ประเมินเจตคติทางวิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล

2.     ประเมินเจตคติต่อวิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล

 

1.     ประเมินทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

2.     ประเมินทักษะการคิด

3.     ประเมินทักษะการแก้ปัญหา

4.     ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม

5. สาระการเรียนรู้

     ลักษณะของตนเองที่เหมือนพ่อแม่

 

6. แนวทางบูรณาการ

ภาษาไทย                        สนทนา พูดคุยเกี่ยวกับลักษณะของตนเองที่เหมือนพ่อแม่ และ                                      ลักษณะของเพื่อนที่เหมือนพ่อแม่

คณิตศาสตร์                     เปรียบเทียบความเหมือน ความแตกต่าง และนับจำนวนความ 

                                   เหมือนความแตกต่างของตนเองกับพ่อแม่

ภาษาต่างประเทศ               ฟัง พูด อ่าน และเขียนคำศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับส่วนต่างๆ

                               ของร่างกายที่เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ

 

7. กระบวนการจัดการเรียนรู้

      ครูดำเนินการทดสอบก่อนเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อตรวจสอบความพร้อมและพื้นฐานของนักเรียน

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1) ครูนำภาพเด็กและพ่อแม่หลายๆ คน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติติดคละกันที่หน้าชั้นเรียน โดยครูใช้ คำถามกระตุ้นดังนี้

– เด็กในภาพมีลักษณะรูปร่างหน้าตาอย่างไร

– เด็กในภาพน่าจะเป็นลูกของใคร

2) นักเรียนร่วมกันตอบคำถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน แล้วร่วมกันจับคู่ภาพพ่อ แม่ ลูก ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง พ่อ แม่ ลูก

 

ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้

จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1) ขั้นสร้างความสนใจ

(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนนำภาพพ่อและแม่ของตนเองมา แล้วแบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ

เท่าๆ กัน สมาชิกภายในกลุ่มผลัดกันบอกลักษณะของตนเองที่เหมือนพ่อแม่

(2) นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมายืนถือรูปพ่อแม่ของตนเองที่หน้าชั้นเรียน ให้เพื่อนคนอื่นๆ ร่วมกันอภิปรายลักษณะของนักเรียนที่เหมือนพ่อแม่

 

2) ขั้นสำรวจและค้นหา

(1) ให้นักเรียนศึกษาลักษณะของตนเองที่เหมือนพ่อแม่และญาติจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน

      (2) นักเรียนร่วมกันอภิปรายลักษณะต่างๆ ของตนเองที่เหมือนพ่อแม่และญาติ

      (3) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม สังเกตลักษณะของตัวเองกับพ่อแม่ ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้

– ให้นักเรียนสังเกตลักษณะของตนเองกับพ่อแม่

– บันทึกลักษณะที่สังเกตได้ลงในตารางบันทึกผล

– เปรียบเทียบลักษณะที่สังเกตได้ของตนเองกับพ่อแม่

(4) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบงาน

 

3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป

      (1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน

      (2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถามต่อไปนี้

– นักเรียนมีลักษณะใดที่เหมือนพ่อแม่

– นักเรียนมีลักษณะใดที่แตกต่างจากพ่อแม่

– เปรียบเทียบความเหมือน ความแตกต่าง และนับจำนวนความเหมือนและความแตกต่างของตนเองกับพ่อแม่

      (3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า ลักษณะของตัวเรามีบางอย่างเหมือนพ่อ บางอย่างเหมือนแม่ และบางอย่างเหมือนทั้งพ่อและแม่

 

4) ขั้นขยายความรู้

      (1) ครูให้ความรู้เพิ่มเติมแก่นักเรียนว่า คนแต่ละคนมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนพ่อแม่ ทำให้คนในครอบครัวเดียวกันหรือคนที่เป็นญาติกันมีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายกัน

      (2) ครูให้นักเรียนสังเกตว่า การที่เรามีลักษณะคล้ายกับพ่อแม่หรือคนในครอบครัว แสดงว่าลักษณะนั้นสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูก หรือจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อไปได้

      (3) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคำศัพท์ภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวกับส่วนต่างๆ ของร่างกายที่มีลักษณะคล้ายกับพ่อแม่หรือคนในครอบครัว จากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต

 

5) ขั้นประเมิน

      (1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่า จากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามี ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ

(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไขอย่างไรบ้าง

      


บทความ แผน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พ่อ แม่ ลูก
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3 เปิดดู 37 ครั้ง

ช่องของ ครูพรชนก ศรีสร้างคอม

โรงเรียนโรงเรียนบ้านดอนบาก สพป.อุดรธานี เขต 1





ลูกมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนพ่อหรือแม่ เช่น มีสีผิวขาวเหมือนแม่ มีผมหยิกเหมือนพ่อ ลักษณะที่เหมือนและไม่เหมือนกันนี้จึงทำให้คนแต่ละคนมีลักษณะที่แตกต่างกัน



แสดงความคิดเห็น




อธิบายใบกิจกรรมที่ 3.3
อภิชาติ แข็งแรง
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ป.3
เปิดดู 31 ครั้ง
พ่อ แม่ ลูก
พรชนก ศรีสร้างคอม
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ป.3
เปิดดู 34 ครั้ง
บทความ แผน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พ่อ แม่ ลูก
พรชนก ศรีสร้างคอม
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ป.3
เปิดดู 37 ครั้ง
อธิบายใบงาน 2.3
อภิชาติ แข็งแรง
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ป.3
เปิดดู 47 ครั้ง
ความรู้เกี่ยวกับสมบัติของวัสดุ
กัญญาณัฐ พวาศิริ
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ป.3
เปิดดู 54 ครั้ง
เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ทรรศนกร สงครินทร์
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ป.3
เปิดดู 28 ครั้ง
พลังงานกับชีวิต
อำนวย กฤษคม
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ป.3
เปิดดู 49 ครั้ง
คอมพิวเตอร์-ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
นภาพร เทศประสิทธิ์
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ป.3
เปิดดู 30 ครั้ง

OBEC PLAY Education Platform | Powered By Spirit Team