แผนการจัดการเรียนรู้

รายวิชา ภาษาไทยพื้นฐาน ๖            รหัสวิชา ท๒๓๑๐๑                    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย            ภาคเรียนที่ ๑                       ปีการศึกษา ๒๕๖๕

หน่วยการเรียนรู้ที่  ๓                     ชื่อหน่วย ทัศนาคุณค่าพระบรมราโชวาท     เวลา  ๑๖ ชั่วโมง

เรื่อง   คำที่มีความหมายโดยตรงและโดยนัย เวลา   ๑   คาบ       ผู้สอน นางสาวทิพย์สุคนธ์ แสนขอนยาง

.....................................................................................................................................................................................

๑.  มาตรฐาน/ตัวชี้วัด

มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิด เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน

ตัวชี้วัด

ท ๑.๑ ม.๒/๒ ระบุความแตกต่างของคำที่มีความหมายโดยตรงและโดยนัย

๒.  สาระสำคัญ

คำ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกมาแล้วมีความหมาย อาจเปล่งครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็ได้ โดยคำนั้นเป็นสารที่ผู้พูดหรือผู้เขียนเจตนาหรือตั้งใจสื่อไปยังผู้ฟังหรือผู้อ่าน คำทุกคำจึงมีความหมายทั้งสิ้น ซึ่งอาจจะมีความหมายนัยตรง (โดยตรง) และคำที่มีความหมายโดยนัย (เชิงเปรียบเทียบหรือนัยประหวัด)

๓.  จุดประสงค์การเรียนรู้

๑. นักเรียนบอกความหมายโดยตรงและโดยนัยได้ (K)

๒. นักเรียนจำแนกความแตกต่างของคำที่มีความหมายโดยตรงและโดยนัยในประโยคได้ (P)

๓. นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม (A)

๔.  สาระการเรียนรู้

๑.  ความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย       

๕.  คุณลักษณะอันพึงประสงค์

๑. มีวินัย

๒. ใฝ่เรียนรู้

๓. มุ่งมั่นในการทำงาน

๖.  ชิ้นงาน/ภาระงาน

- ใบงานวิชาภาษาไทย เรื่อง ความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย

๗.  กระบวนการจัดการเรียนรู้ (รูปแบบ STAD (Student Teams Achievement Divisions))

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

      - ครูนำข้อความมาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนช่วยกันพิจารณาคำตอบของข้อความ เช่น

               - คำที่เรียกชื่อผู้หญิงสูงศักดิ์ คำตอบ ดอกฟ้า

               - เป็นคำพูดที่บอกว่าการกระทำ หรือสิ่งนั้นง่ายมากๆ คำตอบ กล้วยๆ

      - ครูนำข้อความที่มีคำคำเดียวกันแต่ใช้ต่างบริบทกันมาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนอภิปรายว่า  คำทั้งสองคำมีความหมายเหมือนกันหรือต่างกานอย่างไร เช่น ฉันชอบกินเกาเหลา เธอสองคนเกาเหลากัน

ขั้นสอน

๑. ขั้นที่ ๑ ขั้นนำเสนอเนื้อหา

      - ครูและนักเรียนร่วมกันสังเกตคำว่า เกาเหลา บนกระดานแล้วให้นักเรียนสังเกตความหมาย   ของคำจากประโยคทั้งสองประโยค จากนั้นครูจึงอธิบายให้นักเรียนฟังว่า ฉันชอบกินเกาเหลา คำว่าเกาเหลา เป็นคำที่มีความหมายโดยตรง เพราะอ่านแล้วเข้าใจทันที ส่วนประโยคที่ว่า เธอสองคนเกาเหลากัน คำว่า เกาเหลา เป็นคำที่มีความหมายโดยนัย เพราะอ่านแล้วต้องตีความในเชิงเปรียบเทียบ

      - ครูอธิบายความหมายของคำที่มีความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย พร้อมยกตัวอย่าง  ให้นักเรียนฟัง

๒. ขั้นที่ ๒ ขั้นปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม

      - ครูชี้แจงกิจกรรม "ประโยคไหน...? โดยนัยหรือโดยตรง” โดยครูจะแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๔ คน  คละความสามารถ และแจกป้าย ความหมายโดยตรง และความหมายโดยนัย  ให้กลุ่มละ ๑ ชุด จากนั้น  ครูจะยกตัวอย่างประโยคให้นักเรียนช่วยกันระดมความคิดว่าคำในประโยคดังกล่าวเป็นคำที่มีความหมายโดยตรงหรือคำที่มีความหมายโดยนัย หากเป็นคำไหนให้ชูป้ายให้ตรงตามความหมาย  กลุ่มที่ตอบถูก จะได้รับคะแนนคำละ ๑ คะแนน กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดจะเป็นผู้ชนะ

๓. ขั้นที่ ๓ ขั้นทดสอบย่อย

      - นักเรียนทำแบบทดสอบย่อย เรื่อง ความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย โดยไม่มี    การช่วยเหลือกัน

๔. ขั้นที่ ๔ คิดคะแนนความก้าวหน้า

      - นักเรียนเปลี่ยนกันตรวจแบบทดสอบย่อยภายในกลุ่ม โดยคะแนนที่นักเรียนทำแบบทดสอบจะถือเป็นคะแนนรายบุคคลและนำไปเทียบกับคะแนนกลุ่มที่นักเรียนทำ

ขั้นสรุป

๕. ขั้นที่ ๕ ชมเชย ยกย่อง บุคคล

      - ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้เรียนในชั่วโมงนี้

      - นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายสั้น ๆ เกี่ยวกับการนำความรู้เรื่องคำที่มีความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัยไปใช้

      - ครูกล่าวชมเชยและให้กำลังใจนักเรียน

๘.  การจัดบรรยากาศเชิงบวก

- การใช้เกมการแข่งขัน

- การกล่าวชมเชยและให้กำลังใจ

๙.  สื่อ/แหล่งเรียนรู้

 - สื่อการสอน PowerPoint เรื่อง ความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย

- ชุดเกมความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย

- แบบทดสอบ เรื่อง ความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย

๑๐. การวัดและประเมินผล

จุดประสงค์

วิธีการวัด

เครื่องมือ

เกณฑ์ที่ใช้

๑. นักเรียนบอกความหมายโดยตรงและโดยนัยได้ (K)

- การตอบคำถาม

- การทำแบบทดสอบ

- คำถาม

อยู่ในเกณฑ์ ดี ขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์

๒. นักเรียนจำแนกความแตกต่างของคำที่มีความหมายโดยตรงและโดยนัยในประโยคได้ (P)

 

- การทำกิจกรรมกลุ่ม (กิจกรรมประโยคไหน..? โดยตรงหรือโดยนัย)

- การทำใบงาน

- ใบงาน เรื่อง ความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย

๓. นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม (A)

- การสังเกตพฤติกรรม

- แบบสังเกตพฤติกรรม




แผนการจัดการเรียนรู้ความหมายโดยตรงและโดยนัย
ภาษาไทย ม.3 เปิดดู 26 ครั้ง

ช่องของ ครูทิพย์สุคนธ์ แสนขอนยาง

โรงเรียนโรงเรียนบ้านน้ำพ่น สพป.อุดรธานี เขต 1





แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องความหมายโดยตรงและโดยนัย

ใบงาน Cr : LIVEWORKSHEETS



แสดงความคิดเห็น




โวหารภาพพจน์ วิชาภาษาไทย
สุพรรณา ศรีกงพาน
ภาษาไทย... ม.3
เปิดดู 47 ครั้ง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 สมบัติของวรรณคดี
นางสาวสิริขวัญ ขมวดทรัพย์
ภาษาไทย... ม.3
เปิดดู 39 ครั้ง
ความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย
ทิพย์สุคนธ์ แสนขอนยาง
ภาษาไทย... ม.3
เปิดดู 40 ครั้ง
เรื่อง ปัญหาการใช้ภาษาไทยของครูและนักเรียน
พิมพิไล บุญสาย
ภาษาไทย... ม.3
เปิดดู 29 ครั้ง
แผนการจัดการเรียนรู้ความหมายโดยตรงและโดยนัย
ทิพย์สุคนธ์ แสนขอนยาง
ภาษาไทย... ม.3
เปิดดู 26 ครั้ง
ใบความรู้โวหารภาพพจน์
สุพรรณา ศรีกงพาน
ภาษาไทย... ม.3
เปิดดู 31 ครั้ง
คำไทยแท้
ธนัชพงศ์ ศิระลักขณาวิชญ์
ภาษาไทย... ม.3
เปิดดู 55 ครั้ง

OBEC PLAY Education Platform | Powered By Spirit Team