แผนการจัดการเรียนรู้ที่5

สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชา วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา ว 23103

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง เวลาขึ้น – เวลาตกของดวงจันทร์ เวลา 1คาบ

วันที่............เดือน..........................................พ.ศ.......................ครูผู้สอน............................................................

**********************************************************************************

1. มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจองค์ประกอบ ลักษณะ กระบวนการเกิด และวิวัฒนาการของเอกภพ กาแล็กซี ดาวฤกษ์ และระบบสุริยะ รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ

 

2. ตัวชี้วัดชั้นปี

สร้างแบบจำลองที่อธิบายการเกิดข้างขึ้นข้างแรม การเปลี่ยนแปลงเวลาการขึ้นและตกของดวงจันทร์ และการเกิดน้ำขึ้นน้ำลง (ว 3.1 ม. 3/3)

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

1. สังเกตและอธิบายการขึ้นตกของดวงจันทร์ได้ (K)

2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)

3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)

4. ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)

5. สื่อสารและนำความรู้เรื่องเวลาขึ้น–เวลาตกของดวงจันทร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (P)

 

4. สาระสำคัญ

ในแต่ละวัน ดวงจันทร์ขึ้นและตกช้าวันละประมาณ 50 นาที เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลาน้อยกว่าดวงจันทร์โคจรรอบโลก 1 รอบ จึงทำให้เห็นดวงจันทร์ขึ้นและตกในเวลาแตกต่างกันทุกวัน

5. สาระการเรียนรู้

ปรากฏการณ์ระหว่างดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์

– ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม

6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. มีวินัย

2. ใฝ่เรียนรู้

3. มุ่งมั่นในการทำงาน

4. มีจิตวิทยาศาสตร์

7. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1. ความสามารถในการสื่อสาร

2. ความสามารถในการคิด

3. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

 

8. ชิ้นงานหรือภาระงาน

สังเกตการขึ้นตกของดวงจันทร์

9. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1) ครูให้นักเรียนดูรูปหรือสื่อมัลติมีเดียที่แสดงให้เห็นถึงการขึ้นและตกของดวงจันทร์ แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย ดังนี้

– การขึ้นและตกของดวงจันทร์มีลักษณะอย่างไร (แนวคำตอบ ดวงจันทร์จะปรากฏที่ขอบฟ้าทางทิศตะวันออกและลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตก)

2) นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง เวลาขึ้น – เวลาตกของดวงจันทร์

 

ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้

จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้(Inquiry Process) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1) ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)

(1) ครูถามคำถามนักเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น

– ในแต่ละคืน ดวงจันทร์ขึ้นจากขอบฟ้าเวลาเดิมหรือไม่ (แนวคำตอบ ไม่ขึ้นจากขอบฟ้าเวลาเดิม)

– นักเรียนคิดว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น (แนวคำตอบ เพราะโลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลาน้อยกว่าดวงจันทร์โคจรรอบโลก 1 รอบ)

(2) นักเรียนร่วมกันอภิปรายหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน

 

 

 

2) ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)

(1)ครูให้นักเรียนศึกษาเรื่องเวลาขึ้น–เวลาตกของดวงอาทิตย์ จากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า การหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์ขึ้นและตก เวลาขึ้นของดวงจันทร์ คือ เมื่อดวงจันทร์ปรากฏที่ขอบฟ้าทางทิศตะวันออก ส่วนเวลาตกของดวงจันทร์ คือ เมื่อดวงจันทร์ลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตก โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลาน้อยกว่าดวงจันทร์โคจรรอบโลก 1 รอบ จึงทำให้เห็นดวงจันทร์ขึ้นและตกแตกต่างกันทุกวัน ช้าวันละประมาณ 50 นาที

(2)ครูแบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5 – 6 คน ปฏิบัติกิจกรรม สังเกตการขึ้นตกของดวงจันทร์ ตามขั้นตอน ดังนี้

ให้นักเรียนศึกษาตารางข้อมูลแสดงเวลาขึ้นและตกของดวงจันทร์ในแต่ละวัน ณ จังหวัดกระบี่ ในระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ถึง 21มีนาคม พ.ศ. 2562 ดังตาราง

 

วันที่

เวลาขึ้น

เวลาตก

วันที่

เวลาขึ้น

เวลาตก

20 ก.พ. (แรม 1 ค่ำ)

19.25

07.08

7 มี.ค. (ขึ้น 2 ค่ำ)

07.00

19.13

21 ก.พ. (แรม 2 ค่ำ)

20.23

08.01

8 มี.ค. (ขึ้น 3 ค่ำ)

07.40

19.58

22 ก.พ. (แรม 3 ค่ำ)

21.19

08.52

9 มี.ค. (ขึ้น 4 ค่ำ)

08.20

20.43

23 ก.พ. (แรม 4 ค่ำ)

22.13

09.40

10 มี.ค. (ขึ้น 5 ค่ำ)

09.00

21.30

24 ก.พ. (แรม 5 ค่ำ)

23.06

10.28

11 มี.ค. (ขึ้น 6 ค่ำ)

09.43

22.18

25 ก.พ. (แรม 6 ค่ำ)

23.58

11.15

12 มี.ค. (ขึ้น 7 ค่ำ)

10.27

23.09

26 ก.พ. (แรม 7 ค่ำ)

12.03

13 มี.ค. (ขึ้น 8 ค่ำ)

11.15

27 ก.พ. (แรม 8 ค่ำ)

00.50

12.51

14 มี.ค. (ขึ้น 9 ค่ำ)

12.07

00.02

28 ก.พ. (แรม 9 ค่ำ)

01.41

13.40

15 มี.ค. (ขึ้น 10 ค่ำ)

13.02

00.59

1 มี.ค. (แรม 10 ค่ำ)

02.32

14.29

16 มี.ค. (ขึ้น 11 ค่ำ)

14.01

01.57

2 มี.ค. (แรม 11 ค่ำ)

03.21

15.18

17 มี.ค. (ขึ้น 12 ค่ำ)

15.02

02.56

3 มี.ค. (แรม 12 ค่ำ)

04.09

16.07

18 มี.ค. (ขึ้น 13 ค่ำ)

16.04

03.54

4 มี.ค. (แรม 13 ค่ำ)

04.54

16.55

19 มี.ค. (ขึ้น 14 ค่ำ)

17.04

04.51

5 มี.ค. (แรม 14 ค่ำ)

05.38

17.42

20 มี.ค. (ขึ้น 15 ค่ำ)

18.03

05.45

6 มี.ค. (ขึ้น 1 ค่ำ)

06.20

18.28

21 มี.ค. (แรม 1 ค่ำ)

19.01

06.36

 

เขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ของเวลาขึ้นและตกของดวงจันทร์ในแต่ละวัน แล้วนำเสนอหน้าห้องเรียน

(3)ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรม

(4)ครูคอยแนะนำช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบๆ ห้องเรียนและเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา

3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)

(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าห้องเรียน

(2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถาม เช่น

– คืนข้างขึ้นและคืนข้างแรมมีระยะห่างกันกี่วัน (แนวคำตอบ มีระยะห่างกันประมาณ 15 วัน)

– ในแต่ละวันดวงจันทร์ขึ้นและตกที่ตำแหน่งเดิมหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ ไม่ โดยดวงจันทร์ขึ้นและตกช้าไปวันละประมาณ 50 นาที)

– วันข้างขึ้นและวันข้างแรม ดวงจันทร์ขึ้นและตกในลักษณะใด (แนวคำตอบ วันข้างขึ้นดวงจันทร์จะเริ่มขึ้นทางทิศตะวันออกในเวลากลางวัน และเริ่มตกทางทิศตะวันตกในเวลากลางคืน ส่วนวันข้างแรมดวงจันทร์จะเริ่มขึ้นทางทิศตะวันออกในเวลากลางคืน และเริ่มตกทางทิศตะวันตกในเวลากลางวัน)

(3) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเน้นให้นักเรียนเข้าใจว่า ในแต่ละวัน ดวงจันทร์ขึ้นและตกช้าวันละประมาณ 50 นาที เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลาน้อยกว่าดวงจันทร์โคจรรอบโลก 1 รอบ จึงทำให้เห็นดวงจันทร์ขึ้นและตกในเวลาแตกต่างกันทุกวัน

4) ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)

นักเรียนค้นคว้าคำศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับเวลาขึ้น–เวลาตกของดวงจันทร์จากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต และนำเสนอให้เพื่อนฟัง คัดคำศัพท์พร้อมทั้งคำแปลลงสมุดส่งครู

5) ขั้นประเมิน (Evaluation)

(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่า จากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามี ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ

(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไขอย่างไรบ้าง

(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์

(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม เช่น

เวลาขึ้น – เวลาตกของดวงจันทร์ในแต่ละวันแตกต่างกันเพราะอะไร (แนวคำตอบ เพราะเวลาในการหมุนรอบตัวเอง 1รอบของโลกน้อยกว่าเวลาในการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์)

ดวงจันทร์สามารถอยู่บนท้องฟ้าในเวลาเดียวกับดวงอาทิตย์ได้หรือไม่ เพราะอะไร (แนวคำตอบ ได้ เพราะดวงจันทร์ขึ้นพ้นขอบฟ้าช้าลงวันละประมาณ 50 นาที จึงมีบางช่วงที่ดวงจันทร์ขึ้นพ้นขอบฟ้าในเวลาเดียวกับดวงอาทิตย์)

ขั้นสรุป

ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับเวลาขึ้น–เวลาตกของดวงจันทร์ โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์

10. สื่อการเรียนรู้

1. รูปหรือสื่อมัลติมีเดียที่แสดงให้เห็นถึงการขึ้นและตกของดวงจันทร์

2. ใบกิจกรรม สังเกตการขึ้นตกของดวงจันทร์

3. หนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต

4. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 2

5. สื่อการเรียนรู้ PowerPointรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 2

6. แบบฝึกทักษะรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 2

7. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 2

11. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ด้านความรู้ (K)

ด้านคุณธรรม จริยธรรมและ จิตวิทยาศาสตร์ (A)

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

1. ซักถามความรู้เรื่องเวลาขึ้น–เวลาตกของดวงจันทร์

2. ตรวจชิ้นงานหรือภาระงานของกิจกรรมฝึกทักษะระหว่างเรียน

 

1. ประเมินเจตคติทางวิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคลโดยการสังเกตและใช้แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์

2. ประเมินเจตคติต่อวิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคลโดยการสังเกตและใช้แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์

1. ประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

2. ประเมินทักษะการคิดโดยการสังเกตการทำงานกลุ่ม

3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหาโดยการสังเกตการทำงานกลุ่ม

4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มโดยการสังเกตการทำงานกลุ่ม

 


บทความ เรื่อง เวลาขึ้น – เวลาตกของดวงจันทร์
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.3 เปิดดู 26 ครั้ง

ช่องของ ครูนายจีระพันธ์ พรหมกูล

โรงเรียนโรงเรียนบ้านหมูม่นโพนสว่าง สพป.อุดรธานี เขต 1





มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจองค์ประกอบ ลักษณะ กระบวนการเกิด และวิวัฒนาการของเอกภพ กาแล็กซี ดาวฤกษ์ และระบบสุริยะ รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ



แสดงความคิดเห็น




เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
อภิชาติ แข็งแรง
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 27 ครั้ง
ใบความรู้เรื่องบิดาพันธ์ุศาสตร์
วิสาน กาฬพันธ์
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 28 ครั้ง
ปรากฏการณ์การเกิดข้างขึ้น - ข้างแรม
นายจีระพันธ์ พรหมกูล
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 30 ครั้ง
ทำความรู้จักกับกาแล็กซีชนิดกังหัน
นายจีระพันธ์ พรหมกูล
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 35 ครั้ง
กังหันลม
พรกนก คำศรี
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 40 ครั้ง
หนังสือ
ดารารัตน์ หอมทรัพย์
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 29 ครั้ง
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล
นายจีระพันธ์ พรหมกูล
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 52 ครั้ง
ปฏิกิริยาเคมี
พรกนก คำศรี
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 49 ครั้ง
บทความ เรื่อง เวลาขึ้น – เวลาตกของดวงจัน
นายจีระพันธ์ พรหมกูล
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 26 ครั้ง
การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี
พรกนก คำศรี
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 38 ครั้ง
แรงแม่เหล็ก ชั้น ป.3
พัชริดา อิสาคง
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 28 ครั้ง
ใบงาน วิทยาการคำนวณ ม.3
อภิชาติ แข็งแรง
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 36 ครั้ง
กังหันลม ม.3
พรกนก คำศรี
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 35 ครั้ง
ระบบนิเวศและโครงสร้างระบบนิเวศ
พรกนก คำศรี
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 46 ครั้ง

OBEC PLAY Education Platform | Powered By Spirit Team