กาแล็กซีชนิดกังหัน (spiral galaxy) ซึ่งเป็นกาแล็กซีที่มีมากถึง 75% - 85% ในเอกภ (universe) เป็นกาแล็กซีประเภทหนึ่งที่เอ็ดวิน ฮับเบิล (Edwin Hubble) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันได้ศึกษาและจัดกลุ่มเอาไว้ตามแผนภาพส้อมเสียงของฮับเบิล (Hubble tuning fork diagram) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1926 (ดูภาพ 1) และแผนภาพดังกล่าวยังคงใช้กันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะมีนักวิทยาศาสตร์หลายคนได้พยายามเพิ่มรายละเอียดประเภทของกาแล็กซีข้าไปเพื่อให้สามารถตอบโจทย์กาแล็กซีที่พวกเขาพบ แต่โดยพื้นฐานแล้ววิธีจัดประเกทต่าง ๆ เหล่านั้นก็ยังคงอาศัยหลักการของฮับเบิลอยู่นั่นเอง

 

spiral galaxy 01

ภาพ 1 แผนภาพส้อมเสียงจัดประเภทกาแล็กซีของฮับเบิล

ที่มา: http://www.spacetelescope.org/images/heic9902o/

ลำดับภาพที่ปรากฏในแผนภาพส้อมเสียงนี้ไม่มีความเชื่อมโยงกัน กล่าวคือกาแล็กซีชนิดรีไม่ได้มีวิวัฒนาการจนกลายมาเป็นกาแล็กซีชนิดกังหันแต่อย่างใด แม้นักวิทยาศาสตร์สมัยก่อนจะเคยเชื่ออย่างนั้นก็ตาม เพราะปัจจุบันพบหลักฐานแล้วว่ากาแล็กซีแต่ละแบบมีรูปร่างเป็นเช่นนั้นมาตั้งแต่แรกแล้วหรือพูดง่าย ๆ ว่ากาแล็กซีทั้งหมดในเอกภพเกิดขึ้นพร้อมกันนั่นเอง เช่น พบหลักฐานว่าดวงดาวที่มีอายุมากที่สุดในกาแล็กซีต่าง ๆ ในกลุ่มท้องถิ่น (local group) นั้นมีอายุเท่ากันซึ่งหมายความว่ากาแล็กซีเกือบทั้งหมดเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันจากภาพ 1 กาแล็กซีชนิดกังหันซึ่งอยู่บริเวณขาของส้อมเสียงทั้งด้านบนและด้านล่าง มีทั้งที่มีคาน (SBa, SBb, SBc) และไม่มีคาน (Sa, Sb, Sc) หากกาแล็กซี่หันด้านบน (face-on) มาทางโลก เราจะมองเห็นกาแล็กซีชนิดกังหันมีลักษณะตรงตามชื่อคือมีรูปร่างคล้ายกังหันลม (ดูภาพ 2)

 

spiral galaxy 02

ภาพ 2 (ข้าย) กาแล็กซีชนิดกังหัน จาก European Space Agency & NASA

ที่มา: http://www.spacetelescope.org/images/heic0602a/

(ขวา) กังหันลม

ที่มา: http://loveinspired.com/projects/how-to-make-a-paper-pinwhee/

แม้ว่ากาแล็กซีชนิดกังหันจะดูเหมือนมีแขนอยู่จำนวนมากโดยรอบ แต่เมื่อสังเกตให้ดีจะพบว่าแท้จริงแล้วกาแล็กซีชนิดกังหันมีแขนเริ่มต้นเพียง 2 แขนที่เหวี่ยงโค้งออกจากใจกลางอย่างไรก็ตาม นอกจากลักษณะภายนอกของกาแล็กซีชนิดกังหันที่ดูสวยงามและเป็นเอกลักษณ์แล้ว เราควรทำความรู้จักกับส่วนประกอบและองค์ประกอบต่าง ๆ ของกาแล็กซีชนิดนี้ว่ามีอะไรบ้าง

กาแล็กซีชนิดกังหันประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนโป่ง (bulge) จาน (disk) และฮาโล (halo) หรือกลด (ดูภาพ 3)

 

spiral galaxy 03

ภาพ 3 ส่วนประกอบหลักของกาแล็กซีชนิดกังหัน

ที่มา: http://www.icc.dur.ac.uk/~tt/Lectures/Galaxies/Schombert/MilkyWay/Source/HtmV/MilkyWay.html

ส่วนโป้ง มีลักษณะเป็นทรงกลมพบได้บริเวณใจกลางกาแล็กซี มักประกอบด้วยดาวฤกษ์อายุมาก จึงเป็นส่วนที่มีสีแดง

จาน ประกอบด้วยฝุ่น แก๊ส และดาวฤกษ์อายุน้อย ส่วนที่เรียกว่าจานนี้เป็นบริเวณที่แขนของกาแล็กซีกังหันก่อตัวขึ้นเนื่องจากแขนของกังหันมีดาวฤกษ์อายุน้อยเป็นส่วนใหญ่ เราจึงมองเห็นส่วนแขน เป็นสีน้ำเงิน สำหรับกาแล็กซีทางช้างเผือกซึ่งเป็นกาแล็กซีที่มีระบบสุริยะของเราอยู่และเป็นกาแล็กซีชนิดกังหันนั้น จะมีดวงอาทิตย์ตั้งอยู่ที่แขนข้องกาแล็กซีค่อนมาทางปลายแขน

ฮาโล หรือกลด มีลักษณะเป็นทรงกลม แผ่รัศมีบาง ๆ ปกคลุมส่วนโป่งและบางส่วนของจาน ฮาโลประกอบด้วย แก๊สฝุ่น กระจุกดาวอายุมากที่เรียกว่า กระจุกดาวทรงกลม (globular cluster)

 

 

spiral galaxy 04

ภาพ 4 ส่วนประกอบหลักทั้งสามส่วนของกาแล็กซีชอมเบรโร (Sombrero galaxy (M104))

ที่มา: http://gtn.sonoma.edu/resources/normal_galaxies/spiral.php

การทำความรู้จักกับกาแล็กซีชนิดกังหันไม่เพียงทำให้เราได้ซึมซาบความสวยงามของวัตถุท้องฟ้า แต่ยังช่วยให้มนุษย์ได้เข้าใจและรู้จักตัวตนของเรามากยิ่งขึ้น เพราะกาแล็กซีทางช้างเผือกที่มนุษย์เราอาศัยอยู่นี้ก็เป็นกาแล็กซีกังหันชนิดหนึ่ง (กังหันแบบมีคาน) เช่นเดียวกัน เราสามารถเรียนรู้ตัวตนของเราได้จากกาแล็กซีอื่น ๆ ที่มองเห็นได้บนท้องฟ้า กล่าวคือ กาแล็กซีชนิดกังหันที่อยู่บนท้องฟ้ามีลักษณะและสมบัติเป็นอย่างไรกาแล็กซีที่เราอาศัยอยู่ก็มีลักษณะและสมบัติไม่ต่างกันคล้ายกับการส่องกระจกแล้วเห็นเงาของตัวเองนั่นเอง

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/

 

บรรณานุกรม

Galaxies. Retrieved January 2, 2015, from http://www.astro.cornell.edu/academics/courses/astro201/galaxies/types.htm

Onedirectionloveyou. (15 สิงหาคม 2555). กาแล็กซี. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2558, จาก https://astronomyforu.wordpress.com

Wikipedia. (2014). Spiral galaxy. Retrieved January 2, 2015, from http://en.wikipedia.org/wiki/Spiral galaxy

Erin McNally. (2000). Types and Classification of



ทำความรู้จักกับกาแล็กซีชนิดกังหัน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.3 เปิดดู 35 ครั้ง

ช่องของ ครูนายจีระพันธ์ พรหมกูล

โรงเรียนโรงเรียนบ้านหมูม่นโพนสว่าง สพป.อุดรธานี เขต 1





ทำความรู้จักกับกาแล็กซีชนิดกังหัน
โดย : สุภัคสรณ์ รุ่งศรีเมื่อ : วันอังคาร, 16 สิงหาคม 2565
บรรณานุกรม

Galaxies. Retrieved January 2, 2015, from http://www.astro.cornell.edu/academics/courses/astro201/galaxies/types.htm

Onedirectionloveyou. (15 สิงหาคม 2555). กาแล็กซี. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2558, จาก https://astronomyforu.wordpress.com

Wikipedia. (2014). Spiral galaxy. Retrieved January 2, 2015, from http://en.wikipedia.org/wiki/Spiral galaxy

Erin McNally. (2000). Types and Classification of



แสดงความคิดเห็น




ระบบนิเวศและโครงสร้างระบบนิเวศ
พรกนก คำศรี
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 46 ครั้ง
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล
นายจีระพันธ์ พรหมกูล
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 52 ครั้ง
การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี
พรกนก คำศรี
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 38 ครั้ง
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
อภิชาติ แข็งแรง
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 27 ครั้ง
หนังสือ
ดารารัตน์ หอมทรัพย์
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 29 ครั้ง
กังหันลม ม.3
พรกนก คำศรี
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 35 ครั้ง
ทำความรู้จักกับกาแล็กซีชนิดกังหัน
นายจีระพันธ์ พรหมกูล
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 35 ครั้ง
กังหันลม
พรกนก คำศรี
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 40 ครั้ง
ปฏิกิริยาเคมี
พรกนก คำศรี
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 49 ครั้ง
ใบความรู้เรื่องบิดาพันธ์ุศาสตร์
วิสาน กาฬพันธ์
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 28 ครั้ง
ใบงาน วิทยาการคำนวณ ม.3
อภิชาติ แข็งแรง
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 36 ครั้ง
แรงแม่เหล็ก ชั้น ป.3
พัชริดา อิสาคง
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 28 ครั้ง
บทความ เรื่อง เวลาขึ้น – เวลาตกของดวงจัน
นายจีระพันธ์ พรหมกูล
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 26 ครั้ง
ปรากฏการณ์การเกิดข้างขึ้น - ข้างแรม
นายจีระพันธ์ พรหมกูล
วิทยาศาสตร์และเทคโ... ม.3
เปิดดู 30 ครั้ง

OBEC PLAY Education Platform | Powered By Spirit Team