ระบบสนับสนุนการตัดสินใจhttp://www.smce-halal.net/blog/kImages/00011A.GIF

(DECISION SUPPORT SYSTEM)

การจัดการกับการตัดสินใจ

การจัดการ(Management)หมายถึง การบริหารอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยกิจกรรมของกลุ่มบุคคลที่ร่วมมือกันดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยใช้กระบวนการ และทรัพยากรอย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด

กระบวนการจัดการประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การสั่งการหรืออำนวยการ และการควบคุม ผู้บริหารต้องรู้จักเลือกและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจ และเป็นประโยชน์ต่อการบริหารและการตัดสินใจ

ระดับของการจัดการ


  • การจัดการระดับต้น(Lower-level management)ผู้บริหารระดับต้น หรือหัวหน้างานมีหน้าที่ควบคุม ดูแลการปฏิบัติงานประจำวัน การทำงานมีรูปแบบที่แน่นอน ใกล้ชิดการผู้ปฏิบัติงาน การจัดการในระดับนี้ต้องอาศัยข้อมูลจากการดำเนินงานที่ละเอียดนำมาวิเคราะห์เพื่อสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน ควบคุมให้สามารถดำเนินงานตามแผนระยะสั้นที่วางไว้

  • การจัดการระดับกลาง(Middle-level Management)ผู้บริหารระดับกลางมีหน้าที่วางแผนยุทธวิธี และประสานงานระหว่างผู้บริหารระดับสูง และบริหารงานระดับต้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น กำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง ข้อสรุปและสารสนเทศต่าง ๆ ถูกรวบรวมมาทำการวิเคราะห์ และวางแนวทางในการดำเนินงาน

  • การจัดการระดับสูง(Upper-level Management)ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้ที่กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ วางแผนกลยุทธ์ และแผนระยะยาวขององค์การ มีความต้องการสารสนเทศที่มีขอบเขตกว้างขวาง และสารสนเทศเกี่ยวกบแนวโน้มต่าง ๆ จากทั้งภายในและภายนอกองค์การ


การตัดสินใจ(Decision Making)

ขั้นตอนที่นำไปสู่การปฏิบัติเข้ารวมอยู่ในกระบวนการตัดสินใจด้วย ขั้นตอนการตัดสินใจที่ประกอบด้วย4ขั้นตอน

  • การใช้ความคิดประกอบเหตุผล(Intelligence)เป็นขั้นตอนที่รับรู้และตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น รวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ ตรวจสอบเพื่อแยกแยะ กำหนดรายละเอียดของปัญหา

  • การออกแบบ(Design)เป็นขั้นตอนการพัฒนา วิเคราะห์การปฏิบัติ รวมถึงการตรวจสอบ ประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหา ใช้ตัวแบบเพื่อสร้างทางเลือกในการแก้ปัญหา ออกแบบทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

  • การคัดเลือก(Choice)เลือกแนวทางที่เหมาะสมกับปัญหา สถานการณ์มากที่สุด ใช้เครื่องมือช่วยวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเลือกแนวทางที่ดีที่สุด

  • การนำไปใช้(Implementation)เป็นขั้นตอนที่นำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ ติดตามผลการปฏิบัติเพื่อตรวจสอบการดำเนินงาน หากมีข้อขัดข้องจะต้องปรับปรุงให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับสถานการณ์

ระดับการตัดสินใจภายในองค์การ


http://uc.exteen.com/armka2518/images/management.jpg

  • การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์(Strategic Decision Making)เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ที่ให้ความสนใจในอนาคต การตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงจะมีการเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจที่ชัดเจนไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสินใจการขยายกิจการ สารในเทศมีขอบเขตกว้าง มาจากแหล่งภายในและภายนอกองค์การ เช่น สารสนเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น

  • การตัดสินใจเชิงยุทธวิธี(Tactical Decision Making)เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางเกี่ยวกับการจัดการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ตามผู้บริการระดับสูงกำหนดไว้ การตัดสินในระดับนี้เกี่ยวข้องกับปัญหาลักษณะแบบกึ่งโครงสร้าง เช่น การจัดสรรงบประมาณ การกำหนดการผลิต เป็นต้น

  • การตัดสินใจเชิงปฏิบัติการ(Operational Decision Making)เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับปฏิบัติการ หรือหัวหน้างาน เกี่ยวข้องกับงานประจำ การปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นเป็นกิจวัตรเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสามารถปฏิบัติงานได้ตามแผนที่วางไว้อย่างสำเร็จ และมีประสิทธิภาพ การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับปัญหาลักษณะแบบมีโครงสร้าง สามารถกำหนดไว้ล่วงหน้า ทำการตัดสินใจได้อัตโนมัติ เพราะเป็นปัญหาเรื่องซ้ำๆกัน เช่น การวางแผนเบิกจ่ายวัสดุ การมอบหมายงานให้พนักงาน สารสนเทศที่ใช้การตัดสินใจส่วนใหญ่เป็นสารสนเทศจากแหล่งข้อมูลภายในองค์การ

ประเภทการตัดสินใจ

  • การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง(Structured Decision)เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่มีขั้นตอน กระบวนการในการแก้ปัญหาที่แน่ชัด สามารถกำหนดโครงสร้าง หรือกฎเกณฑ์ในการตัดสินใจ เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าคงคลัง

  • การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง(Unstructured Decision)เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่สามารถกำหนดกระบวนการตัดสินใจล่วงหน้า เช่น การคัดเลือกผู้บริหารเข้าทำงาน การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่

  • การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง(Semi-structured Decision)เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่สามารถระบุกระบวนการ หรือวิธีการตัดสินใจได้ล่วงหน้าในบางส่วน แต่ไม่มากพอที่จะนำไปสู่การตัดสินใจตามที่แนะนำได้อย่างแน่นอน ต้องใช้ประสบการณ์ของผู้ตัดสินใจ เช่น โมเดลทางคณิตศาสตร์ ทางสถิติ ทางการเงิน



ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

เทคโนโลยีและการสื่อสารมีผลกระทบต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับสูงจึงเข้ามาเกี่ยวข้องและใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถช่วยองค์การแก้ปัญหาทางธุรกิจที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับองค์การ ระบบสารสนเทศอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน คือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

ความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบDSSคือ ระบบแบบโต้ตอบที่ใช้คอมพิวเตอร์โดยอาศัยความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ระบบได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่าย และสะดวก มีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลได้ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารในปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง

ระบบDSSผู้บริหารสามารถทดสอบการเลือกในการตัดสินใจ โดยตั้งคำถามในลักษณะ "ถ้า…..แล้ว…." จะช่วยให้มีทางเลือกที่จะตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างหลากหลายทางเลือก

ส่วนประกอบของระบบDSS

  • ส่วนจัดการข้อมูล(Data Management Subsystem)ประกอบด้วยฐานข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูล ส่วนสอบถามข้อมูล สารบัญข้อมูล ส่วนการดึงข้อมูล และข้อมูลที่ได้รับจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ ระบบDSSเชื่อมต่อการฐานข้อมูลขององค์การหรือคลังข้อมูล เพื่อดึงข้อมูลที่เกี่ยวกับการตัดสินใจมาใช้

  • ส่วนจัดการโมเดล(Model Management Subsystem)ประกอบด้วยฐานแบบจำลอง ระบบฐานแบบจำลอง ภาษาแบบจำลอง สารบัญแบบจำลองและส่วนดำเนินการแบบจำลอง
    ฐานแบบจำลอง จัดเก็บแบบจำลองที่มีความสามารถในการวิเคราะห์มีระบบจัดการฐานแบบจำลอง เป็นซอฟต์แวร์ในการสร้าง และจัดการแบบจำลอง ระบบจัดการฐานแบบจำลองมีหน้าที่หลัก ดังนี้
    –สร้างแบบจำลองของระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้อย่างง่ายและรวดเร็ว
    –สามารถจัดเก็บและจัดการแบบจำลองชนิดต่างๆ
    –สามารถจัดกลุ่มและแสดงสารบัญของแบบจำลอง
    –สามารถติดตามการใช้แบบจำลองและข้อมูล
    –สามารถเชื่อมโยงแบบจำลองต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมโดยผ่านทางฐานข้อมูล

การใช้แบบจำลอง หรือตัวช่วยแก้ปัญหาการตัดสินใจมีข้อดีที่ช่วยให้การศึกษาปัญหาต่าง ๆ ทำได้อย่างประหยัดตัวแบบยังช่วยให้สามารถทดลองแก้ปัญหาโดยยังไม่ต้องทำกับสภาพเป็นจริง แบบจำลองเพื่อการตัดสินใจมีหลายประเภทDSSถูกสร้างขึ้นมา ประกอบด้วยแบบจำลองที่แตกต่างกัน แบบจำลองมีตัวอย่าง ดังนี้

  • แบบจำลองทางสถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบต่าง ๆ

  • แบบจำลองเพื่อหาจุดเหมาะสมที่สุดเป็นการหาค่าเหมาะสมที่สุดของตัวแปรตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น การหาผลตอบแทนที่สูงที่สุดโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่ำสุด

  • แบบจำลองสถานการณ์เป็นตัวแบบคณิตศาสตร์ที่ใช้การสร้างชุดสมการเพื่อแทนสภาพของระบบที่ทำการศึกษาแล้วทำการทดลองจากตัวแบบเพื่อศึกษาสิ่งที่จะเกิดกับระบบ

  • ส่วนจัดการโต้ตอบ(Dialogue Management Subsystem)เรียกว่า ส่วนการประสานผู้ใช้ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับระบบ เพื่อให้ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับระบบเป็นไปด้วยความสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน ผู้ใช้สามารถควบคุมข้อมูลนำเข้าและรูปแบบจำลองรวมอยู่ในการวิเคราะห์ได้ เช่น การใช้เมาส์ การใช้ระบบสัมผัสในการติดต่อกับระบบ

  • ส่วนจัดการองค์ความรู้(Knowledge-based Management Subsystem)ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างหลายปัญหาที่มีความซับซ้อนมาก ต้องการความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาDSSขั้นสูงมีส่วนที่เรียกว่าการจัดการองค์ความรู้เพิ่มมาเป็นส่วนประกอบอื่นของระบบDSSให้ทำงานดีขึ้นระบบDSSมีส่วนจัดการองค์ความรู้ประกอบด้วย เรียกว่า

  • ระบบสนับสนุนการตัดสินใจชาญฉลาด(Intelligence DSS)

  • ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและผู้เชี่ยวชาญอิงฐานความรู้(DSS/ES)

  • ระบบสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ(Expert Support System)

  • ระบบแอ็กทีฟ ดีเอสเอส(Active DSS)

  • ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอิงฐานความรู้(Knowledge-based DSS)

ประเภทของระบบDSS

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้รูปแบบเป็นหลัก(Model-driven DSS)เป็นระบบที่ใช้การจำลองสถานการณ์ และรูปแบบการวิเคราะห์ต่าง ๆ เช่น โมเดลทางการบัญชี ซึ่งสามารถวิเคราะห์ระบบขึ้นอยู่กับเครื่องมือซอฟต์แวร์

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ใช้ข้อมูลเป็นหลัก(Data-driven DSS)เป็นระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ เช่น ข้อมูลจากฐานข้อมูลองค์การ ซึ่งมีข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งอาจนำเอาระบบโอแลปมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล

ลักษณะและความสามารถของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

1. สนับสนุนการตัดสินใจทั้งในสถานการณ์แบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง นำสารสนเทศจากระบบมาประกอบการตัดสินใจ

2. สนับสนุนการทำงานของผู้บริหารได้หลายระดับ

3. สนับสนุนการตัดสินใจแบบเฉพาะบุคคลและแบบกลุ่มได้ เนื่องจากปัญหาแตกต่างกันต้องอาศัยการตัดสินใจจากหลายคนร่วมกัน

4. สนับสนุนการตัดสินปัญหาที่เกี่ยวพันซึ่งกัน และปัญหาแบบต่อเนื่อง

5. สนับสนุนทุกขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ

6. สนับสนุนการตัดสินใจหลายรูปแบบ

7. สามารถปรับข้อมูลเพื่อจัดการกับเงื่อนไขต่าง ๆ มีความยืดหยุ่นสูง

8. สามารถใช้งานได้ง่าย

9. เพิ่มประสิทธิผลในการตัดสินใจ

10. ผู้ทำการตัดสินใจสามารถควบคุมทุกขั้นตอนในการตัดสินใจแก้ปัญหา

11. ผู้ใช้สามารถสร้างและปรับปรุงระบบDSSขนาดเล็กที่มีการทำงานงานแบบง่าย ๆ ได้

12. มีการใช้แบบจำลองต่าง ๆ ช่วยในการวิเคราะห์สถานการณ์การตัดสินใจ

13. สามารถเข้าถึงข้อมูลจากหลายแหล่งได้ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ

ความแตกต่างระหว่างระบบDSSและระบบสารสนเทศอื่น

ระบบDSSเป็นระบบสารสนเทศที่จัดทำให้ฝ่ายบริหาร ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิเคราะห์ขององค์การ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล และสารสนเทศสำหรับการวางแผนและตัดสินใจที่เกี่ยวกับปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ต่างจากระบบTPSและระบบMISโดยระบบTPSมีการจัดการข้อมูลสำหรับงานประจำวัน ใช้ระบบที่สอดคล้องกับขั้นตอนการปฏิบัติการ สำหรับระบบMISให้สารสนเทศควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติงาน และสรุปผลการดำเนินงาน ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจปัญหาแบบโครงสร้างได้

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคล

เป็นระบบที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของแต่ละบุคคล เช่น ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการเลือกซื้อประกันรถยนต์โดยผู้ใช้สามารถเข้าไปในเว็บไซต์ของผู้ให้ประกัน และกรอกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ระบบคำนวณเบี้ยประกันให้ตามที่ต้องการ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม(Group Decision Support System: GDSS)

การตัดสินใจปัญหาบางส่วนในองค์กรอาจต้องอาศัยการตัดสินใจในรูปของคณะทำงานเนื่องจากปัญหานั้นมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายการให้บุคคลเดียวตัดสินใจแก้ปัญหาอาจไม่รอบคอบและถูกต้อง จึงอาศัยการทำงานและการตัดสินใจของกลุ่มบุคคล

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่มGDSSเป็นระบบที่สนับสนุนการตัดสินใจประเภทหนึ่ง เป็นระบบแบบโต้ตอบที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจร่วมกันของกลุ่มบุคคล ต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านการสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของสมาชิกเข้าด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นภายในกลุ่มได้ เพราะสมาชิกในกลุ่มไม่จำเป็นต้องอยู่ในที่เดียวกัน


ส่วนประกอบของGDSS

  • อุปกรณ์ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในการประชุม เช่น การจัดห้องประชุม โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ อยู่ในลักษณะที่เกื้อหนุนการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม

  • ชุดคำสั่ง(Software)เป็นชุดคำสั่งสำหรับกลุ่มที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล สร้างทางเลือก ประกอบด้วย แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือช่วยกำหนดนโยบาย รวมถึงซอฟต์แวร์เครือข่าย

  • ฐานแบบจำลองของระบบGDSS (Model Base)ประกอบด้วยแบบจำลองเช่นเดียวกับระบบDSSส่วนบุคคล เช่น แบบจำลองเชิงปริมาณ แบบจำลองทางการเงิน เป็นต้น

  • บุคลากร(People)ประกอบด้วยสมาชิกในกลุ่มและผู้สนับสนุนด้านต่าง ๆ

ประโยชน์ของGDSSช่วยส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม ดังนี้

  1. ช่วยเตรียมความพร้อมในการประชุม

  2. อำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารระหว่างสมาชิกกลุ่ม

  3. ส่งเสริมและสร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก

  4. จัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม

  5. ช่วยจัดลำดับความสำคัญของปัญหา

  6. อำนวยความสะดวกในการจัดทำเอกสารประกอบการประชุม

  7. ช่วยประหยัดเวลาในการประชุม สามารถลดจำนวนครั้งของการประชุมได้


แหล่งที่มา : https://pimpanp.wordpress.com/2008/04/26/บทที่7ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ


นายธนโชติ สุวรรณโคตร




ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
แนะแนว ทุกระดับชั้น เปิดดู 31 ครั้ง

ช่องของ ครูธนโชติ สุวรรณโคตร

โรงเรียนโรงเรียนบ้านนามั่ง สพป.อุดรธานี เขต 1





ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
(DECISION SUPPORT SYSTEM)
การจัดการกับการตัดสินใจ
การจัดการ (Management) หมายถึง การบริหารอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยกิจกรรมของกลุ่มบุคคลที่ร่วมมือกันดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยใช้กระบวนการ และทรัพยากรอย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด
กระบวนการจัดการประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การสั่งการหรืออำนวยการ และการควบคุม ผู้บริหารต้องรู้จักเลือกและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจ และเป็นประโยชน์ต่อการบริหารและการตัดสินใจ



แสดงความคิดเห็น




คุณครูคนใหม่
เอกราช วรรณคีรี
แนะแนว... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 36 ครั้ง
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ธนโชติ สุวรรณโคตร
แนะแนว... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 31 ครั้ง
แนวทางการบริหารการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
Janejira Kanachan
แนะแนว... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 34 ครั้ง

OBEC PLAY Education Platform | Powered By Spirit Team