เรื่องค่าประมาณ /ค่าประมาณใกล้เคียง


การประมาณ

การประมาณ เป็นการบอกขนาด จำนวน หรือปริมาณ ที่ไม่ต้องการละเอียดถี่ถ้วน เป็นเพียงการ คาดคะเนจำนวนหรือปริมาณด้วยสายตาเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องวัด เครื่องคำนวณ หรือการนับแต่ อย่างใด

เช่นถ้าเราอยากทราบว่ามีไก่กี่ตัวในเล้า มีมะนาวกี่ลูกอยู่ในตะกร้า หากเราต้องการรายละเอียด เราจำเป็นจะต้องเอาออกมานับดู แต่หากเวลามีจำกัดหรือ ไม่ต้องการละเอียดมากนักเราก็ ใช้สายตากะเอา แล้วบอกจำนวนคร่าว ๆว่ามีมากน้อยเพียงใด

การบอกจำนวนใด ๆ โดยวิธีการประมาณค่า นั้นเรามักนิยมบอกเป็นจำนวนใกล้เคียงจำนวนเต็ม เช่น จำนวนสิบ จำนวนเต็มร้อย จำนวนเต็มพัน จำนวนเต็มหมื่น จำนวนเต็มแสน จำนวนเต็ม ล้าน ฯลฯ เป็นต้น

การประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบ

จำนวนเต็มสิบหมายถึงจำนวนที่หลักหน่วยของเลข 2 หลักลงท้ายด้วย

เลข 0 เช่น 10 , 20 , 30 , 40 , 50 , 60 , 70 80 และ 90 การประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบนั้น วิธี คิด ให้เราดูจำนวนนั้น ๆ เฉพาะหลักหน่วยและหลักสิบเท่านั้นจะไม่ดู เลขหลักอื่นประกอบ เช่น 453 เรา จะดูเฉพาะเลข 53 เท่านั้นว่าอยู่ใกล้จำนวนเต็มสิบใดมากที่สุด ระหว่าง 50 กับ 60 ซึ่งใกล้ 53 ที่สุดก็ คือ 50 จึงประมาณค่า ใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบของ 453 คือ 450 ดูเส้นจำนวนข้างล่างนี้ประกอบ

|<----------------------- |----------------------------------->|

--------|-----|-----|-----|-----|-----|-----|------|------|-----|-----|--------------------------

450 451 452 453 454 455 456 457 458 459 460

หรือ 988 เราจะดูเฉพาะ เลข 88 ว่าอยู่ใกล้จำนวนเต็มสิบใดที่สุด ซึ่งก็คือ 90 จึง ประมาณค่าใกล้เคียงของ 988 ได้เป็น 990 เป็นต้น

หรือการประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบของจำนวนใด ๆ เราทำได้อีกโดยให้พิจาณาจาก จำนวนนั้นเฉพาะในเลขหลักหน่วยเท่านั้น ก็โดยการพิจาณาดังนี้

1. ถ้าตัวเลขในหลักหน่วยมีค่าต่ำกว่า 5 ให้เราประมาณค่าเป็นจำนวนเต็มสิบน้อยกว่าเลข จำนวนนั้น เช่น 324 หลักหน่วยของเลขจำนวนนี้คือ 4 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 5 ให้เราประมาณค่าจำนวนเต็ม สิบของจำนวนนี้คือ 320 ดูเส้นจำนวนข้างล่างนี้ประกอบ

|<------------------------------- |---------------------------->|

<-----|-----|-----|----|-----|-----|-----|-----|-----|-----|-----|-------->

320 321 322 323 324 325 326 327 328 329 330

2. ถ้าหลักหน่วยของเลขจำนวนนั้นมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 5 ให้เราประมาณค่า ใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบมากกว่าเลขจำนวนนั้น เช่น 527 หลักหน่วยของเลขจำนวนนี้คือ 7 เราก็สามารถ ประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบของเลขจำนวนนี้คือ 530

หรือ 625 หลักหน่วยของจำนวน 625 คือเลข 5 เราจะประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็ม สิบของ 625 ได้คือ 630 เป็นต้น

ตัวอย่าง จงประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบของจำนวน 792 และ 796

แนวคิด ในการพิจารณาว่าจำนวน ดังกล่าวข้างต้นอยู่ใกล้จำนวนเต็มสิบใดมากที่สุดเราจะใช้ เส้นจำนวนประกอบการพิจารณาก็ได้เพื่อให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นดังรูป (ดูเส้นทึบสี<------- และเส้นปะสี ------- ->)

| <-------------- |------------------------------------------------->|

<------------------|---------|---------|---------|---------|---------|---------|---------|---------|--------- |----------|---------|--------|--------|------------------------>

790 790 792 793 794 795 796 797 798

799 800

|<-----------------------------|---------------------------------------->|

จากรูปจำนวน 792 (ด้านบนเส้นจำนวน <----|----|----|-----|----->) เมื่อดูจากเส้นจำนวนแล้ว ระยะห่าง 792 กับ 800 จะห่างกันเท่ากับ 8 ช่อง ( ดูตามเส้นปะ ----->) และห่าง จาก 790 รวม 2 ช่อง (ดูตามเส้นทึบ < ------ ) จึงประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็ม สิบ ของ 792 คือ 790

ทำนองเดียวกัน 796 เมื่อดูจากเส้นจำนวน (ด้านล่างเส้นจำนวน <----|----|----|-----|----->) แล้ว ระยะทางจาก 796 ถึง 800 จะใกล้กว่า 790 จึงประมาณค่า ใกล้เคียงจำนวนเต็มสิบของ 796 คือ 800 (ให้นักเรียนนับที่ช่องจำนวน สังเกตเส้นปะ <------ และเส้นทึบ ------> ให้เอาจำนวนเต็มสิบที่อยู่ใกล้ที่สุด เป็นประมาณค่าใกล้เคียง)

การปัดเศษ

การประมาณค่าอีกวิธีหนึ่งคือการปัดเศษ ซึ่งเราสามารถปัดเศษของจำนวนเต็มและทศนิยมได้ และ ผลลัพธ์ของการปัดเศษจะได้ค่าประมาณที่ใกล้เคียงจำนวนจริง

การปัดเศษเมื่อเป็นจำนวนเต็ม

หลักการปัดเศษในจำนวนเต็มสิบ

ถ้าหลักหน่วยมีค่า 1 2 3 4 ให้ปัดทิ้ง เช่น 23 ปัดเป็น 20 หรือ 34 ปัดเป็น 30

ถ้าหลักหน่วยมีค่า 5 6 7 8 9 ให้ปัดขึ้น เช่น 55 ปัดเป็น 62 หรือ 78 ปัดเป็น 80

ในขณะเดียวกันการปัดเศษในจำนวนเต็มร้อย จำนวนเต็มพัน จำนวนเต็มหมื่น ฯลฯ ค่าประมาณที่ใกล้ ที่สุดให้เราพิจารณาที่หลักสิบ หลักร้อย หลักพัน หลักหมื่น ตามลำดับ คือถ้ามีค่าต่ำกว่า 5 ให้ปัดทิ้ง แต่ถ้ามีค่า มากกว่า 5 ให้ปัดขึ้น

ตัวอย่างการประมาณค่า

ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มร้อยของ 256 คือ 300 ให้พิจารณาที่กลักสิบ ถ้ามีค่าท่ากับหรือ มากกว่า 5 ให้ปัดขึ้น

ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มร้อยของ 233 คือ 200 ให้พิจารณาที่กลักสิบ น้อยกว่า 5 ให้ตัดทิ้ง ค่าประมาณใกล้เคียงจำนวนเต็มพันของ 2,869 คือ 3,000 ให้พิจารณาที่กลักร้อย ถ้ามากกว่าหรือ เท่ากับ 5 ให้ปัดขึ้น



ใบความรู้เรืองการประมาณค่า วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ค่าประมาณ
คณิตศาสตร์ ป.4 เปิดดู 34 ครั้ง

ช่องของ ครูศรุตา พิชัยภูษิต

โรงเรียนโรงเรียนบ้านเชียงพิณ สพป.อุดรธานี เขต 1





ใบความรู้เรืองการประมาณค่า
วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
สอนโดย นางสาวศรุตา พิชัยภูษิต
โรงเรียนบ้านเชียงพิณ



แสดงความคิดเห็น




การบอกเวลาเป็นนาฬิกา นาที วินาที ป.4
วัลลี เนตรแสงศรี
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 51 ครั้ง
การประมาณค่า วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่
ศรุตา พิชัยภูษิต
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 60 ครั้ง
คณิตศาสตร์ชั้น ป.4 | การคูณเลข 1 หลักกับจำนวนมา
ณัฐฐิรา กิ่งมิ่งแฮ
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 36 ครั้ง
คณิตศาสตร์ ป 4 | การหาร (ที่มีตัวหาร 1 หลัก)
ณัฐฐิรา กิ่งมิ่งแฮ
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 43 ครั้ง
จำนวนนับที่มากกว่า 100,000 ห้องเรียนครูแพม
หนึ่งฤทัย ชัยรส
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 50 ครั้ง
คณิตศาสตร์ชั้น ป.4 | โจทย์ปัญหาการเขียนแสดงวิธี
ณัฐฐิรา กิ่งมิ่งแฮ
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 33 ครั้ง
แบบรูปป
ชิตชัย โคตกะพี้
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 32 ครั้ง
ใบงานเรื่องเศษส่วน
อัคคเดช หันประดิษฐ์
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 34 ครั้ง
ใบความรู้เรืองการประมาณค่า วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นป
ศรุตา พิชัยภูษิต
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 34 ครั้ง
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชา คณิตศาสตร์ ป. 4
เฉลิมเกียรติ สุริโย
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 54 ครั้ง
คณิตศาสตร์ชั้น ป.4 | การประมาณค่า จำนวนเต็มแสน
ณัฐฐิรา กิ่งมิ่งแฮ
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 24 ครั้ง
การบวกลบเศษส่วน
พงศ์พิทักษ์ จิตตะบุตร
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 29 ครั้ง
ทศนิยม ป.4
วัลลี เนตรแสงศรี
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 46 ครั้ง
เวลา ป.4
อัคคเดช หันประดิษฐ์
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 34 ครั้ง
การประมาณค่า วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่
นายอลงกรณ์ โรหิตาคนี
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 29 ครั้ง
เศษส่วน
วงค์จิรา นาสมวาส
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 51 ครั้ง
การสร้างวงกลม วิชาคณิตศาสตร์
วีรภัทร สารพัฒน์
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 37 ครั้ง
ใบความรู้ สร้างวงกลม
วีรภัทร สารพัฒน์
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 30 ครั้ง
โจทย์ปัญหาการเขียนแสดงวิธีคิดและประโยคสัญลักษณ์
รัชนีกร คุณาพันธ์
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 31 ครั้ง
เรื่องเวลา
วัลลี เนตรแสงศรี
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 28 ครั้ง
ค่าประมาณเป็นจำนวนเต็มสิบ (คณิตศาสตร์ ป.4 เล่ม
ศรุตา พิชัยภูษิต
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 47 ครั้ง
การคูณจำนวนหนึ่งหลักกับจำนวนมากกว่าสี่หลัก
เฉลิมเกียรติ สุริโย
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 34 ครั้ง
เศษส่วน
ภวิกา เจริญศิริธาดา
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 27 ครั้ง
เปิดชั้นเรียนสอนวิชาคณิตศาสตร์ (Lesson Study &a
วีรภัทร สารพัฒน์
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 26 ครั้ง
การบวกเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน
พงศ์พิทักษ์ จิตตะบุตร
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 20 ครั้ง
แบบฝึกหัดเสริม(การคูณ) วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถม
เฉลิมเกียรติ สุริโย
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 60 ครั้ง
คณิตศาสตร์ ป 4 | การเปรียบเทียบและเรียงลำดับเศษ
ณัฐฐิรา กิ่งมิ่งแฮ
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 32 ครั้ง
คณิตศาสตร์ชั้น ป.4 | การหาจำนวนที่ไม่ทราบค่า จา
ณัฐฐิรา กิ่งมิ่งแฮ
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 25 ครั้ง
การประมาณค่า วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่
ยุทธการ ทหารนะ
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 37 ครั้ง
มารู้จักเศษส่วนกันเถอะ
ภวิกา เจริญศิริธาดา
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 32 ครั้ง
เวลา คณิตศาสตร์
อัคคเดช หันประดิษฐ์
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 34 ครั้ง
เศษส่วน
ภวิกา เจริญศิริธาดา
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 36 ครั้ง
วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน
พิเชาวน์ องค์อนุรักษ์
คณิตศาสตร์... ป.4
เปิดดู 39 ครั้ง

OBEC PLAY Education Platform | Powered By Spirit Team