เรื่อง                  การศึกษาเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6                      

 

ความสำคัญและที่มา

            ความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนในสังคมต้องปรับปรุงและพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการศึกษาต้องปรับปรุงเพื่อให้คนมีความรู้ความสามารถให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้นักการศึกษาจึงได้พยายามปรับปรุงหลักสูตรในระดับต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐาน เพื่อเป็นหลักในการนำไปใช้แก้ปัญหาและดำเนินชีวิตในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

            คณิตศาสตร์เป็นวิชาหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับมนุษย์มากโดยเฉพาะในส่วนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต เพราะคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่สร้างสรรค์จิตใจของมนุษย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความคิด กระบวนการและเหตุผล คณิตศาสตร์ฝึกให้คนคิดอย่างมีระบบ ระเบียบและเป็นรากฐานของวิทยาการสาขาต่าง ๆ แต่คณิตศาสตร์มีลักษณะเป็นนามธรรม เนื้อหาบางตอนก็ยากที่ครูจะอธิบายให้นักเรียนเข้าใจและไม่เบื่อหน่าย ตลอดจนช่วยให้นักเรียนมีความเจริญงอกงามทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม

อย่างไรก็ตามองค์ประกอบหนึ่งที่นับว่าสำคัญคือ เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เจตคติต่อวิชามีบทบาทสำคัญในอันที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ กล่าวคือนักเรียนจะสามารถเรียนรู้วิชาใด ๆ ได้ดีขึ้นหากนักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชานั้น ๆ ดังนั้นนักเรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาใด ย่อมทำให้การเรียนวิชานั้นไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร นักเรียนที่มีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ก็จะทำให้การเรียนคณิตศาสตร์ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะจะทำให้นักเรียนไม่สนใจไม่ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ ไม่เห็นคุณค่าของวิชาคณิตศาสตร์และเห็นว่าวิชาคณิตศาสตร์น่าเบื่อหน่าย ลักษณะของนักเรียนที่เรียนอ่อนคณิตศาสตร์ มักจะมีเจตคติทางลบต่อวิชาคณิตศาสตร์ คิดว่าตนเป็นผู้ล้มเหลวเสมอ ไม่ชอบเข้าชั้นเรียน ไม่ชอบทำงาน ชอบรบกวนนักเรียนคนอื่น เบื่อหน่ายการเรียน อยากหนีโรงเรียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งสิ้น ดังนั้น การที่นักเรียนจะเรียนคณิตศาสตร์ได้ดีขึ้น นักเรียนจะต้องมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

 

จุดมุ่งหมาย

1.       เพื่อศึกษาเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน

 

ตัวแปรที่ศึกษา

1.       เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์

 

 

นิยามศัพท์เฉพาะ

            เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ หมายถึง ความรู้สึกของนักเรียนที่พึงพอใจต่อวิชาคณิตศาสตร์หลังจากมีประสบการณ์ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนแสดงพฤติกรรมที่สนองตอบต่อคณิตศาสตร์ไปในทางใดทางหนึ่งหรือลักษณะใดลักษณะหนึ่ง

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

            1.  นักเรียนมีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์อย่างไร

 

ขอบเขตของการวิจัย

            ในการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้ประชากรเป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองบัวบาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 16 คน

           

วิธีดำเนินการวิจัย

1.       ศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียน

2.       ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์

3.       ดำเนินการจัดทำเครื่องมือแบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์

4.       ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล

5.       สรุปผลการวิจัย

 

ตารางการวิจัย

ขั้นตอนการดำเนินการ

ระยะเวลาในการทำวิจัย

1.  ศึกษาสภาพปัญหา

มกราคม 2565

2.  ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์

กุมภาพันธ์ 2565

3.  ดำเนินสร้างเครื่องมือ

กุมภาพันธ์ 2565

4.  เก็บรวบรวมข้อมูล

กุมภาพันธ์ 2565

5.  สรุปผลการวิจัย

มีนาคม 2565

 

 

 

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1.  แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองเป็นแบบทดสอบ เกณฑ์ในการวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน นักเรียนที่ได้คะแนน 30 – 90 คะแนน หมายความว่า นักเรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ นักเรียนที่ได้คะแนน91 – 150 คะแนน หมายความว่า นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

            - ตาราง, แผนภูมิ การนำเสนอข้อมูล

ตารางที่1 แสดงคะแนนที่ได้จากการวัดเจตคติของนักเรียน

คนที่

คะแนน

1

90

2

80

3

74

4

89

5

90

6

102

7

101

8

86

9

92

10

104

11

90

12

105

13

100

14

101

15

106

16

108

 

            จากตารางที่ 1 แสดงให้เห็นถึงคะแนนเจตคติของนักเรียนโดยที่คนที่6 – 16 เป็นนักเรียนหญิง และมีคะแนนเจตคติ 30 – 90 คะแนน จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 12.50  ที่มีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ส่วนนักเรียนหญิงที่ได้คะแนน 90 – 100 คะแนน จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 56.25 ที่มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

            คนที่ 1-5 เป็นนักเรียนชาย โดยที่นักเรียนชายที่ได้คะแนนเจตคติ 30 – 90 คะแนน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 31.25 ที่มีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

 

ตารางที่2 แสดงคะแนนที่ได้จากแบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์

 

จำนวน(ร้อยละ)

ค่าเฉลี่ย

นักเรียนชาย

5(31.25)

84.60

นักเรียนหญิง

11(68.75)

99.54

ทั้งหมด

16(100)

94.87

 

จากตารางที่1 แสดงให้เห็นถึงจำนวนนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด16 คน แบ่งเป็นนักเรียนชาย  5คน คิดเป็นร้อยละ 31.25 นักเรียนหญิง 11 คน คิดเป็นร้อยละ 68.75

คะแนนที่ได้จากแบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ94.87คะแนน โดยนักเรียนชายมีค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติเท่ากับ 84.60 คะแนน และนักเรียนหญิงมีค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติเท่ากับ 99.54คะแนน ซึ่งนักเรียนชายมีคะแนนเจตคติน้อยกว่านักเรียนหญิง

เมื่อเทียบกับเกณฑ์คะแนนเจตคติ 30 – 90 คะแนน เป็นผู้ที่มีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ และ 91 – 150 คะแนนเป็นผู้ที่มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ทำให้สรุปได้ว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ เมื่อแบ่งตามเพศ ทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชายต่างก็มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

 

สรุปผล

            ผลจากการศึกษาเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น ป.6  นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ เมื่อแบ่งตามเพศหญิงและชาย นักเรียนหญิงและนักเรียนชายต่างก็มีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์เหมือนกันโดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยที่ได้

           

ข้อคิดที่ได้จากการวิจัย

            นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ทำให้นักเรียนไม่รู้สึกเบื่อหน่ายและเห็นคุณค่าของวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งเมื่อนักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์แล้วนักเรียนจะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดี




 

 


บทความ
คณิตศาสตร์ ป.6 เปิดดู 43 ครั้ง

ช่องของ ครูหนึ่งฤทัย ชัยรส

โรงเรียนโรงเรียนบ้านหนองบัวบาน สพป.อุดรธานี เขต 1





วิจัยในชั้นเรียน



แสดงความคิดเห็น




แบบทดสอบหน่วยที่ 1 จำนวนนับ
ธนโชติ สุวรรณโคตร
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 43 ครั้ง
ทศนิยม
พัชยา เอี่ยมแจ้งพันธุ์
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 42 ครั้ง
วิชาคณิตศาสตร์ ชั้น ป.6 เรื่อง การบวก ลบ คูณ หา
นายอลงกรณ์ โรหิตาคนี
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 27 ครั้ง
ตัวประกอบของจำนวนนับ
พิชามญชุ์ สาครเจริญ
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 35 ครั้ง
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ
ธนโชติ สุวรรณโคตร
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 30 ครั้ง
เศษส่วนป.6
ฐิตินันท์ พนมภูมิ
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 34 ครั้ง
บทความ
นะวมิณฑ์ ไผ่ป้อง
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 29 ครั้ง
My Classroom
อชิรญา พิมพ์ปัจฉิม
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 26 ครั้ง
คณิตศาสตร์
ยุทธการ ทหารนะ
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 50 ครั้ง
การคูณทศนิยม
ชิตชัย โคตกะพี้
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 41 ครั้ง
มารู้จักเศษส่วนกันเถอะ
พิชามญชุ์ สาครเจริญ
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 44 ครั้ง
ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)
ศิรินภา โสภณ
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 58 ครั้ง
เรื่องเศษส่วน วิชาคณิตศาสตร์
นายอลงกรณ์ โรหิตาคนี
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 54 ครั้ง
ทบทวนเศษส่วนที่เท่ากัน
วรรณารัตน์ ละอองเอกกุลภัค
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 49 ครั้ง
ใบงานคณิตศาสตร์ เศษส่วน
ฐิตินันท์ พนมภูมิ
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 43 ครั้ง
แบบรูปและความสัมพันธ์
ศิรินภา โสภณ
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 37 ครั้ง
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง เศษส่วน
มะลิวรรณ ศรีอุทธา
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 41 ครั้ง
ลักษณะของรูปสามเหลี่ยม (คณิตศาสตร์ ป.6 เล่ม 2 บ
สุพัตรา ด้วงคำจันทร์
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 46 ครั้ง
การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม
ยุทธการ ทหารนะ
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 69 ครั้ง
การหารทศนิยมด้วยทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง
สุพัตรา ด้วงคำจันทร์
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 46 ครั้ง
โจทย์ปัญหาร้อยละ
ชวิศา บุญพา
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 31 ครั้ง
คณิตศาสตร์
ศรุตา พิชัยภูษิต
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 49 ครั้ง
การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยมด้วยการทำเศษส่วนให้เป
นายอลงกรณ์ โรหิตาคนี
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 40 ครั้ง
วิชาคณิตศาสตร์ ชั้น ป.6 เรื่อง การบวก ลบ คูณ หา
ส้งกาส ลือดี
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 48 ครั้ง
บทความ
หนึ่งฤทัย ชัยรส
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 43 ครั้ง
ทศนิยม
หนึ่งฤทัย ชัยรส
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 39 ครั้ง
คณิตศาสตร์
ประยงค์ บรรณเทศ
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 56 ครั้ง
แบบฝึกทักษะ เรื่องรูปสามเหลี่ยม
ศรีประภา บุญหล่า
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 26 ครั้ง
ตัวประกอบของจำนวนนับ คณิตศาสตร์ ป.6
ธนโชติ สุวรรณโคตร
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 51 ครั้ง
แผนการจัดการเรียนรู้
พิชามญชุ์ สาครเจริญ
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 32 ครั้ง
รูปทรงเรขาคณิตสามมิติ
มะลิวรรณ ศรีอุทธา
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 43 ครั้ง
แบบรูปและความสัมพันธ์
พงศ์พิทักษ์ จิตตะบุตร
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 37 ครั้ง
O-NET ป.6 ทศนิยม
Chanikan Nontanum
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 31 ครั้ง
ส่วนประกอบของวงกลม
ทิฆัมพร ไชโย
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 66 ครั้ง
สามเหลี่ยมง่าย ๆ สไตล์ครูเค้ก คณิต ป.6
พรนภา สีหาทิพย์
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 42 ครั้ง
โจทย์ปัญหาร้อยละ
ชวิศา บุญพา
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 33 ครั้ง
ทศนิยม
ชวิศา บุญพา
คณิตศาสตร์... ป.6
เปิดดู 28 ครั้ง

OBEC PLAY Education Platform | Powered By Spirit Team