ACTIVE LEARNING หมายถึงอะไร




Active Learning การเรียนรู้แบบลงมือทำ(ปฏิบัติ)

Active Learning คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป (Bonwell, 1991) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สมมติฐานพื้นฐาน 2 ประการคือ 1) การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์, และ 2) แต่ละบุคคลมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน (Meyers and Jones, 1993) โดยผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้(receive) ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้(co-creators)

( Fedler and Brent, 1996)

Active Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง แปลตามตัวก็คือเป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ หรือ การลงมือทำซึ่ง ” ความรู้ "ที่เกิดขึ้นก็เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้การเรียนรู้โดยการอ่าน, การเขียน, การโต้ตอบ, และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์, การสังเคราะห์, และการประเมินค่า

ดังกล่าวนั่นเองหรือพูดให้ง่ายขึ้นมาหน่อยก็คือ หากเปรียบความรู้เป็น ” กับข้าว ” อย่างหนึ่งแล้ว Active learning ก็คือ ” วิธีการปรุง ” กับข้าวชนิดนั้น ดังนั้นเพื่อให้ได้กับข้าวดังกล่าว เราก็ต้องใช้วิธีการปรุงอันนี้แหละแต่ว่ารสชาติจะออกมาอย่างไรก็ขึ้นกับประสบการณ์ความชำนาญ ของผู้ปรุงนั่นเอง ( ส่วนหนึ่งจากผู้สอนให้ปรุงด้วย )

"เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการร่วมมือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ในการนี้ ครูต้องลดบทบาทในการสอนและการให้ข้อความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรงลง แต่ไปเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการจะทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น และอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยการพูด การเขียน การอภิปรายกับเพื่อนๆ”

กระบวนการเรียนรู้ Active Learning ทำให้ผู้เรียนสามารถรักษาผลการเรียนรู้ให้อยู่คงทนได้มากและนานกว่ากระบวนการเรียนรู้ Passive Learning เพราะกระบวนการเรียนรู้ Active Learning สอดคล้องกับการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำ โดยสามารถเก็บและจำสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์ กับเพื่อน ผู้สอน สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ได้ผ่านการปฏิบัติจริง จะสามารถเก็บจำในระบบความจำระยะยาว (Long Term Memory) ทำให้ผลการเรียนรู้ ยังคงอยู่ได้ในปริมาณที่มากกว่า ระยะยาวกว่า ซึ่งอธิบายไว้ ดังรูป

จากรูปจะเห็นได้ว่า กรวยแห่งการเรียนรู้นี้ได้แบ่งเป็น 2 กระบวนการ คือ

กระบวนการเรียนรู้ Passive Learning

  • กระบวนการเรียนรู้โดยการอ่านท่องจำผู้เรียนจะจำได้ในสิ่งที่เรียนได้เพียง 10%

  • การเรียนรู้โดยการฟังบรรยายเพียงอย่างเดียวโดยที่ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมอื่นในขณะที่อาจารย์สอนเมื่อเวลาผ่านไปผู้เรียนจะจำได้เพียง 20%

  • หากในการเรียนการสอนผู้เรียนมีโอกาสได้เห็นภาพประกอบด้วยก็จะทำให้ผลการเรียนรู้คงอยู่ได้เพิ่มขึ้นเป็น 30%

  • กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพิ่มขึ้น เช่น การให้ดูภาพยนตร์ การสาธิต จัดนิทรรศการให้ผู้เรียนได้ดู รวมทั้งการนำผู้เรียนไปทัศนศึกษา หรือดูงาน ก็ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น เป็น 50%

การบวนการเรียนรู้ Active Learning

  • การให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ ความเข้าใจนำไปประยุกต์ใช้สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าหรือ สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และพัฒนาตนเองเต็มความสามารถ รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เขาได้มีโอกาสร่วมอภิปรายให้มีโอกาสฝึกทักษะการสื่อสาร ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 70%

  • การนำเสนองานทางวิชาการ เรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง ทั้งมีการฝึกปฏิบัติ ในสภาพจริง มีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์ ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผลการเรียนรู้เกิดขึ้นถึง 90%

ลักษณะของ Active Learning (อ้างอิงจาก :ไชยยศ เรืองสุวรรณ)

  • เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา การนําความรู้ไปประยุกต์ใช้

  • เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

  • ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

  • ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน มีการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฎิสัมพันธ์ร่วมกัน และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน

  • ผู้เรียนได้เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทํางาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ

  • เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิด

  • เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นทักษะการคิดขั้นสูง

  • เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล, ข่าวสาร, สารสนเทศ, และหลักการสู่การสร้างความคิดรวบยอดความคิดรวบยอด

  • ผู้สอนจะเป็นผู้อํานวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง

  • ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้เรียน

บทบาทของครู กับ Active Learning ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ (2550) ได้กล่าวถึงบทบาทของครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางของ Active Learning ดังนี้

  1. จัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน กิจกรรมต้องสะท้อนความต้องการในการพัฒนาผู้เรียนและเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงของผู้เรียน

  2. สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม และการเจรจาโต้ตอบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน

  3. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นพลวัต ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมรวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้

  4. จัดสภาพการเรียนรู้แบบร่วมมือ ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือในกลุ่มผู้เรียน

  5. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ท้าทาย และให้โอกาสผู้เรียนได้รับวิธีการสอนที่หลากหลาย

  6. วางแผนเกี่ยวกับเวลาในจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของเนื้อหา และกิจกรรม

  7. ครูผู้สอนต้องใจกว้าง ยอมรับในความสามารถในการแสดงออก และความคิดเของที่ผู้เรียน

ที่มา :

http://www.kroobannok.com/20651

http://www.yufaidelivery.com/knowledge04.html

http://www.pochanukul.com/?p=169

https://parnward8info.wordpress.com/2




ACTIVE LEARNING หมายถึงอะไร
คู่มือการเรียนรู้ ทุกระดับชั้น เปิดดู 60 ครั้ง

ช่องของ ครูวิมลรัตน์ อุ่นทานนท์

โรงเรียนโรงเรียน สพป.อุดรธานี เขต 1







แสดงความคิดเห็น




คณิต ป.1
ณัฏฐิญา เคนทุม
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 35 ครั้ง
ง่ายๆ มาใช้ Playlist กันเถอะ
ณัฏฐิญา เคนทุม
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 46 ครั้ง
สร้าง Animation ด้วย Canva
ดวงใจ บุญมีประเสริฐ
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 48 ครั้ง
กระบวนการเรียนการสอนแบบPlc
ฉวีวรรณ เข็มกลัด
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 24 ครั้ง
ACTIVE LEARNING หมายถึงอะไร
วิมลรัตน์ อุ่นทานนท์
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 60 ครั้ง
งานประกันคุณภาพ
ณัฏฐิญา เคนทุม
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 32 ครั้ง
5 Tips & Tricks Canva ที่ครูทุกควรรู้
ดวงใจ บุญมีประเสริฐ
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 30 ครั้ง
คู่มือการใช้Obec Content Center
วิมลรัตน์ อุ่นทานนท์
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 49 ครั้ง
มือใหม่หัดใช้ canva for ipad
ดวงใจ บุญมีประเสริฐ
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 40 ครั้ง
คู่มือการใช้ Canva
วิมลรัตน์ อุ่นทานนท์
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 70 ครั้ง
ทำความรู้จัก Canva For Education
ดวงใจ บุญมีประเสริฐ
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 30 ครั้ง
Active Learning
จิรนาถ อินแสง
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 35 ครั้ง
เอกสารประกอบการอบรมอินโฟกราฟิก
ดวงใจ บุญมีประเสริฐ
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 49 ครั้ง
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learnning
วิมลรัตน์ อุ่นทานนท์
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 35 ครั้ง
แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ความปลอดภัยโรงเรียนบ้านด
พรนภา สีหาทิพย์
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 26 ครั้ง
เทคนิคใช้ Canva เบื้องต้น
ดวงใจ บุญมีประเสริฐ
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 33 ครั้ง
การออกแบบอินโฟกราฟิก by canva
ดวงใจ บุญมีประเสริฐ
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 35 ครั้ง
วิธีการสมัคร Canva for Education 2022
ดวงใจ บุญมีประเสริฐ
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 32 ครั้ง
คู่มือการใช้ Canva เพื่อการจัดการเรียนการสอน
ดวงใจ บุญมีประเสริฐ
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 34 ครั้ง
PDF งานประกัน
ณัฏฐิญา เคนทุม
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 34 ครั้ง
คู่มือการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทาง
ธงชัย พละสาร
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 1 ครั้ง
คู่มือการ Upload วีดีโอลง Youtube
กล้ารบ เกษมรัตน์
คู่มือการเรียนรู้... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 32 ครั้ง

OBEC PLAY Education Platform | Powered By Spirit Team