การแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะ

เวลา 8 ชั่วโมง

เรื่องที่2 : แนวคิดในการแก้ปัญหา เวลา 4 ชั่วโมง

วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es Instructional Model)

วิธีการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม

เทคนิคตามแนวคิดเชิงคำนวณ

ขั้นนำ

(10 นาที)

กระตุ้นความสนใจ

1. ครูให้นักเรียนดูภาพจำนวน 3 คู่ โดยเป็นภาพที่แสดงถึงแนวคิดการทำงานแบบลำดับ 1 คู่ ภาพที่แสดงถึงแนวคิดการทำงานแบบวนซ้ำ 1 คู่ และภาพที่แสดงถึงแนวคิดการทำงานแบบเงื่อนไข 1 คู่ แต่ครูไม่ต้องบอกนักเรียนว่าภาพแต่ละคู่เป็นการทำงานแบบใด

ตัวอย่างภาพที่แสดงถึงแนวคิดการทำงานแบบลำดับ
1) ภาพการตกแต่งหน้าเค้ก โดยมีการอบขนมเค้ก > ทาครีมปิดเนื้อเค้ก > บีบครีมบนเค้ก > ใส่ผลไม้,คุกกี้เพื่อตกแต่งหน้าเค้ก

2) ภาพการซักผ้าโดยมีการเปิดน้ำใส่กะละมัง>ใส่ผงซักฟอก > นำผ้าใส่ในกะละมังแล้วขยี้ผ้า> ล้างผ้าด้วยน้ำสะอาด > บิดผ้า >ตากผ้า

ตัวอย่างภาพที่แสดงถึงแนวคิดการทำงานแบบวนซ้ำ

1) ภาพการรดน้ำต้นไม้จำนวนหลาย ๆ ต้น โดยรดน้ำต้นไม้ทีละต้น จนหมด
2) ภาพการหยิบหนังสือวางใส่ชั้นวางหนังสือ โดยหยิบหนังสือทีละเล่ม จนหมด

ตัวอย่างภาพที่แสดงถึงแนวคิดการทำงานแบบเงื่อนไข

1) ภาพการกรอกน้ำใส่ขวดโดยใช้ตู้น้ำหยอดเหรียญ ที่มีปุ๋มสีแดงให้กดหยุดน้ำ โดยตรวจสอบว่าน้ำเต็มขวดหรือยัง หากยังให้รอจนน้ำเต็มขวด หากเต็มขวดแล้วให้กดปุ่มสีแดง
2) ภาพคนกำลังตรวจสอบแต้มสะสมในบัตรสมาชิก เพื่อลดราคาสินค้า โดยหากมีแต้มจำนวนหนึ่งจะได้รับส่วนลด 5
% หากมีแต้มอีกจำนวนหนึ่งจะได้รับส่วนลด 10%

 

 

 

 

ขั้นสอน

(50 นาที)

สำรวจค้นหา

1. ครูให้นักเรียนพิจารณาว่า ภาพแต่ละคู่มีอะไรที่ซ้ำกัน และเปรียบเทียบภาพทั้ง 3 คู่ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
2. ครูถามคำถามประจำเรื่องในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ป.6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ว่าแนวคิดในการแก้ปัญหามีความสำคัญอย่างไร
3. นักเรียนศึกษาข้อมูลเบื้องต้น เรื่องแนวคิดการทำงานแบบลำดับ ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ป.6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 หน้า 9 เรื่องแนวคิดการทำงานแบบเงื่อนไข และเรื่องแนวคิดการทำงานแบบวนซ้ำ

อธิบายความรู้

1. ครูและนักเรียนร่วมกันตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องแนวคิดการทำงานแบบลำดับตามที่นักเรียนได้ศึกษามาแล้วในหนังสือเรียน

ประเด็นคำถาม

1) ห้องของปูมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ปูกำลังจะทำอะไร

2) ปูมีขั้นตอนในการทำความสะอาดห้องอย่างไร

3) เพราะเหตุใด ปูจึงเลือกทำความสะอาดในบริเวณที่อยู่สูงก่อน แล้วจึงไล่ลงมาบริเวณที่ต่ำที่สุด

4) หากปูไม่มีการวางแผน หรือไม่มีแนวคิดในการแก้ปัญหา จะเกิดอะไรขึ้น

2. ครูถามนักเรียนเพิ่มเติมอีกว่า หากนักเรียนต้องทำความสะอาดห้องนอนของปู นักเรียนจะเริ่มทำอะไรก่อน เพราะเหตุใด มีนักเรียนคนใดที่มีวิธีการทำความสะอาดแตกต่างจากปูบ้าง ครูให้นักเรียนอธิบายถึงความแตกต่าง จากนั้นครูบอกกับนักเรียนว่าการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งสามารถมีได้มากกว่า 1 วิธีก็ได้

3. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการทำความสะอาดห้องนอนของปู โดยได้ข้อสรุปร่วมกันว่าการทำงานดังกล่าวเป็นการทำงานที่มีลำดับก่อน-หลังอย่างชัดเจน โดยต้องทำงานในขั้นแรกให้สำเร็จก่อน จึงจะเข้าสู่ขั้นตอนถัดไปได้ ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้เรียกว่า การทำงานแบบลำดับ ซึ่งเป็นแนวคิดในการแก้ปัญหาแนวคิดหนึ่ง

4. ครูสุ่มนักเรียน 3-4 คน เพื่อถามคำถามท้าทายความคิดขั้นสูง ว่า เพราะเหตุใด เราจึงไม่ควรใส่รองเท้าก่อนสวมเสื้อและกางเกง

5. ครูและนักเรียนร่วมกันตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องแนวคิดการทำงานแบบเงื่อนไขตามที่นักเรียนได้ศึกษามาแล้วในหนังสือเรียน
ประเด็นคำถาม

1)นักเรียนเคยสังเกตไหมว่า ถังขยะที่เราเคยเห็นอยู่ตามที่ต่าง ๆ มีหลายสี แต่ละสีมีความแตกต่างกันอย่างไร หากเรามีขยะประเภทเศษอาหาร เราควรทิ้งลงถังขยะสีอะไรเพราะเหตุใด (แนวคำตอบ: ควรทิ้งลงถังชยะใบสีเขียว เพราะเป็นถังที่ใส่ขยะแบบย่อยสลายได้ ซึ่งเศษอาหารเป็นขยะที่ย่อยสลายได้)

2)หากเราไม่ทราบหรือไม่เข้าใจเงื่อนไขในการทิ้งขยะ เราจะทิ้งขยะได้ถูกต้องตามประเภทหรือไม่ และหากเราทิ้งขยะผิดประเภท จะส่งผลอะไร

6. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ว่าการทำงานในลักษณะนี้เป็นการทำงานแบบมีเงื่อนไข ซึ่งเราจะต้องเข้าใจเงื่อนไขต่าง ๆ ให้ชัดเจนก่อน และต้องใช้เหตุผลเชิงตรรกะมาช่วยพิจารณาด้วย เพื่อให้ได้คำตอบหรือผลลัพธ์ตามเงื่อนไขที่กำหนด

ชั่วโมงที่ 2

ขั้นสอน

 

 (60 นาที)

อธิบายความรู้

1. ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนความรู้เดิมที่เรียนในชั่วโมงที่แล้วว่า เราได้รู้จักแนวคิดในการแก้ปัญหามาแล้ว 2 แนวคิด ได้แก่ แนวคิดการทำงานแบบลำดับ และแนวคิดการทำงานแบบเงื่อนไข



2. ครูและนักเรียนร่วมกันตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องแนวคิดการทำงานแบบวนซ้ำตามที่นักเรียนได้ศึกษามาแล้วในหนังสือเรียน
ประเด็นคำถาม

1) ให้นักเรียนดูภาพตัวอย่างแรกในหนังสือเรียน แล้วพิจารณาว่า มีการเขียนแนวคิดแบบใด และมีขั้นตอนทั้งหมดเท่าไร

2) นักเรียนลองสังเกตที่ภาพตัวอย่างอีกครั้งว่ามีขั้นตอนใดที่ซ้ำกันหรือไม่

3. ครูและนักเรียนร่วมกันถามตอบ จนได้ข้อสรุปร่วมกันว่าในการทำงานที่ต้องทำหลายครั้งเหมือน ๆ กัน เราสามารถเขียนรวมเป็นขั้นตอนเดียวกันได้ ซึ่งเราเรียกการทำงานแบบนี้ว่าการทำงานแบบวนซ้ำ โดยการทำงานแบบวนซ้ำมี 2แบบคือการทำงานแบบวนซ้ำที่มีจำนวนครั้งแน่นอน กับการทำงานแบบวนซ้ำที่มีจำนวนครั้งไม่แน่นอน

4. ครูชี้ให้นักเรียนเห็นว่าตัวอย่างแรกเรื่องการวิ่งแข่ง เป็นการทำงานแบบวนซ้ำที่มีจำนวนครั้งแน่นอนเพราะมีการบอกจำนวนรอบในการวิ่งที่แน่นอน จากนั้นครูยกตัวอย่างการทำงานแบบวนซ้ำที่มีจำนวนครั้งไม่แน่นอน โดยให้นักเรียนดูภาพตัวอย่างการใช้ขันตักน้ำเพื่ออาบน้ำ ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ป.6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 โดยครูถามนักเรียนว่า โดยปกติแล้ว เวลาเราอาบน้ำโดยใช้ขัน มีใครเคยนับจำนวนครั้งที่เราตักน้ำบ้าง หากเราไม่ได้นับ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราควรต้องหยุดอาบน้ำ

5. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเรื่องการใช้ขันอาบน้ำจนได้ข้อสรุปว่า การทำงานในลักษณะนี้ เป็นแนวคิดการทำงานแบบวนซ้ำที่มีจำนวนครั้งไม่แน่นอน โดยจะมีการทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีเงื่อนที่สั่งให้หยุด
6. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องแนวคิดการทำงานแบบวนซ้ำกับนักเรียน ในมุม Com Sci ตามหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ป.6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
7. ครูมอบมายงานให้นักเรียนทำกิจกรรมฝึกทักษะCom Sci ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ป.6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1เรื่องการเรียงลำดับขั้นตอนการผูกเชือกรองเท้า เรื่องการทำงานแบบเงื่อนไข เป็นการบ้าน
8. หลังจากที่นักเรียนได้เรียนรู้แนวคิดครบทั้งหมดแล้ว ครูและนักเรียนสรุปร่วมกันอีกครั้งว่า แนวคิดในการแก้ปัญหามีทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่
- แนวคิดการแก้ปัญหาแบบลำดับ
- แนวคิดการแก้ปัญหาแบบวนซ้ำ
- แนวคิดการแก้ปัญหาแบบมีเงื่อนไข
9. ครูถามคำถามเชื่อมโยงไปถึงรูปภาพ ที่เปิดให้นักเรียนดูในต้นชั่วโมงที่แล้วว่า แต่ละรูปภาพใช้แนวคิดการทำงานแบบใด

10. ครูนำใบงานที่ 1 เรื่องต่อยอดการแก้ปัญหาเชิงตรรกะ ที่นักเรียนเคยได้ทำไว้ (ในแผนที่แล้ว) โดยนำวิธีการแก้ปัญหาเรื่องการตอบปัญหาภาษาอังกฤษที่นักเรียนได้เขียนไว้มาฉายลงบนโปรเจกเตอร์ หรือเขียนลงบนกระดาน เพื่อให้นักเรียนพิจารณาว่า วิธีการแก้ปัญหาที่นักเรียนเคยเขียน ใช้แนวคิดใดในการแก้ปัญหา

ตัวอย่างวิธีการแก้ปัญหาของนักเรียน เรื่องการตอบปัญหาภาษาอังกฤษโดยครูอาจเลือก
ใบงานที่มีการเขียนวิธีการแก้ปัญหาที่ดีหรือสมบูรณ์ที่สุดมาให้นักเรียนพิจารณา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

12. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายว่าตัวอย่างที่ครูให้นักเรียนดู ได้ใช้แนวคิดใดบ้าง โดยได้ข้อสรุปร่วมกันว่า ใช้แนวคิดทั้ง 3 แนวคิด โดยข้อ 1-7 ใช้แนวคิดการทำงานแบบลำดับ โดยจะมีการทำงานแบบวนซ้ำและมีเงื่อนไขซ่อนอยู่ นั่นคือข้อ 4, 5, 6 และ 7 ซึ่งใช้แนวคิดการทำงานแบบวนซ้ำและแบบมีเงื่อนไขผสมกัน เพราะ หากตรวจสอบข้อความในข้อ 6 แล้วพบว่ายังได้คำตอบไม่ครบ จะต้องวนซ้ำกลับไปที่ข้อ 4 และ 5 เพื่ออ่านเงื่อนไข และตัดสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ออกอีกครั้ง และวนซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้คำตอบครบ

13. ครูมอบหมายงานให้นักเรียนทำกิจกรรมฝึกทักษะ Com Sci ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องการทำงานแบบวนซ้ำ และแบบฝึกหัดเรื่อง แนวคิดในการแก้ปัญหา ในแบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ป.6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เป็นการบ้าน เพื่อทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งหมด

ชั่วโมงที่ 3

ขั้นสอน

 

(60 นาที)

ขยายความรู้

1. ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนความรู้เดิมที่เคยเรียนในชั่วโมงที่แล้ว เรื่องแนวคิดในการแก้ปัญหา

2. ครูถามนักเรียนว่า ในชีวิตประจำวันของนักเรียนมีกิจกรรมใดบ้าง ที่สามารถอธิบายโดยใช้แนวคิดการทำงานแบบต่าง ๆ

3. ครูบอกนักเรียนว่า วันนี้ครูจะให้นักเรียนตามติดชีวิตของลุงคนหนึ่ง เขามีชื่อว่าลุงพล เรามาดูกันดีกว่าว่าใน 1 วัน ลุงพลต้องทำอะไรบ้าง แล้วให้นักเรียนช่วยวิเคราะห์ว่ามีช่วงใดบ้าง ที่เราสามารถใช้แนวคิดการทำงานแบบต่าง ๆ ในการอธิบายได้

4. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 3-4 คน จากนั้นครูอ่านสถานการณ์ในกิจกรรมฝึกทักษะที่ 3 ในแบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ป.6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 หน้า 14 ให้นักเรียนฟังและให้นักเรียนนึกภาพตาม

5. ครูถามนักเรียนว่าจากสถานการณ์ที่ครูอ่านให้ฟัง มีช่วงใดบ้างที่สามารถใช้แนวคิดการทำงานแบบต่าง ๆ ในการอธิบายได้ โดยครูให้นักเรียนในกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์และเขียนตอบลงในแบบฝึกหัด

6. ครูเรียกนักเรียนแต่ละกลุ่มให้ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนว่า สามารถใช้แนวคิดแบบต่าง ๆ อธิบายเหตุการณ์ในช่วงใดได้บ้าง และลงข้อสรุปร่วมกัน

ตรวจสอบผล

1. ครูถามนักเรียนว่า แล้วในชีวิตประจำวันของนักเรียน มีเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ใดบ้าง ที่สามารถใช้แนวคิดการทำงานแบบต่าง ๆ ในการอธิบายได้

2. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมเรื่อง แนวคิดการทำงานแบบต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน โดยครูให้นักเรียนระดมความคิดร่วมกันภายในกลุ่ม และให้นักเรียนแต่ละคนร่วมกันเสนอสถานการณ์หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันของตนเอง และช่วยกันเลือกเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ดีที่สุดของกลุ่มเพื่อมานำเสนอหน้าชั้นเรียน โดยแต่ละกลุ่ม ห้ามใช้เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ซ้ำกัน

3. ครูแจกกระดาษฟลิปชาร์ท และปากกาสีต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนช่วยกันวาดภาพหรือเขียนข้อความเพื่ออธิบายเหตุการณ์หรือสถานการณ์นั้น ๆ หากทำไม่ทันในชั่วโมงนี้ ให้นักเรียนนำกลับไปทำเป็นการบ้าน และนำเสนอในชั่วโมงถัดไป

ชั่วโมงที่ 4

ขั้นสอน

 

1. (40 นาที)

 

1. ครูบอกนักเรียนว่า จากชั่วโมงที่แล้วครูได้มอบหมายงานให้นักเรียนทำกิจกรรมเรื่อง แนวคิดการทำงานแบบต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายสถานการณ์ในชีวิตประจำวันในชั่วโมงนี้ครูจะให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำกระดาษที่ได้วาดรูปหรือเขียนไว้ ออกมานำเสนอโดยต้องอธิบายถึงแนวคิดต่าง ๆ ให้ชัดเจน โดยครูให้เวลาในการนำเสนอกลุ่มละ 7-10 นาที

2. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอกิจกรรมเรื่อง แนวคิดการทำงานแบบต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน

ขั้นสรุป

3. ครูสอบถามนักเรียนแต่ละกลุ่มว่า สถานการณ์ของกลุ่มใด ที่มีการนำแนวคิดในการแก้ปัญหาแบบต่าง ๆ มาอธิบายได้ชัดเจนที่สุด และนอกจากสถานการณ์ของกลุ่มเราหรือของเพื่อน ๆ แล้ว ยังมีสถานการณ์อื่น ๆ อีกหรือไม่

(20 นาที)

1. ครูให้นักเรียนตรวจสอบตนเองจากการเรียนเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องการแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะ ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

2. ครูและนักเรียนสรุปความรู้ประจำหน่วยร่วมกัน โดยดูแผนผังสรุปสาระสำคัญท้ายหน่วย ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

3. ครูมอบหมายงานให้นักเรียนทำกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เป็นการบ้าน

4. ครูมอบหมายงานให้นักเรียนทำชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด) เป็นการบ้าน

5. ครูให้นักเรียนเล่นเกมทางของฉัน ในกิจกรรมเล่นเกมกับ Com Sci ตามหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

6. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน

8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
8.1 สื่อการเรียนรู้

1) หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ป.6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1เรื่อง การแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะ

2) หนังสือแบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ป.6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะ

3) ใบงานที่ 1.1.1 เรื่อง ต่อยอดการแก้ปัญหาด้วยเหตุผลเชิงตรรกะ

4) วีดีทัศน์เรื่องการแปลอักษรจาก https://www.youtube.com/watch?v=M4xp926Q4O8

8.2 แหล่งการเรียนรู้

 

1) ห้องคอมพิวเตอร์

2) อินเทอร์เน็ต

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


แนวคิดในการแก้ปัญหา
วิทยาการคำนวณ ป.6 เปิดดู 39 ครั้ง

ช่องของ ครูนัฐวุฒิ แสนสุข

โรงเรียนโรงเรียนบ้านเตาไห สพป.อุดรธานี เขต 1





เครดิต :
วิทยาการคำนวณ EP10 เหตุผลเชิงตรรกะ Logical thinking(Computational thinking) อาบน้ำซีซ่า kids Coding
ช่องยูทูป Lipda Pola
ผู้ติดตาม 5.12 หมื่น คน

วิทยาการคำนวณป.6 เรื่อง การทำงานแบบลำดับ
วิทยาการคำนวณป.6 เรื่องการทำงานแบบมีเงื่อนไข
ช่องยุทูป T. NEW
ผู้ติดตาม 351 คน



แสดงความคิดเห็น




การแก้ไขปัญหาโดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
วนิดา วันภักดี
วิทยาการคำนวณ... ป.6
เปิดดู 24 ครั้ง
Internet of Things (IoT): เมื่อทุกสิ่งอิงกับอิน
อำนาจ อ้อมนอก
วิทยาการคำนวณ... ป.6
เปิดดู 34 ครั้ง
EP2 รายวิชาวิทยาการคำนว เรื่อง ประโยชน์ของกล้วย
เสาวพรรณ ภูมิอินทร์
วิทยาการคำนวณ... ป.6
เปิดดู 28 ครั้ง
อ้างจากยูทูป
สุธารินีย์ สืบแสนกุล
วิทยาการคำนวณ... ป.6
เปิดดู 68 ครั้ง
EP1 รายวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องอุปกรณ์และระบบคอ
เสาวพรรณ ภูมิอินทร์
วิทยาการคำนวณ... ป.6
เปิดดู 36 ครั้ง
วิทยาการคำนวณ ป.6 อาจจากเนื้อหา
สุธารินีย์ สืบแสนกุล
วิทยาการคำนวณ... ป.6
เปิดดู 69 ครั้ง
บทความ
นัฐวุฒิ แสนสุข
วิทยาการคำนวณ... ป.6
เปิดดู 23 ครั้ง
พรีเซนหน่วยที่ 1
สุธารินีย์ สืบแสนกุล
วิทยาการคำนวณ... ป.6
เปิดดู 74 ครั้ง
การออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย
อำนาจ อ้อมนอก
วิทยาการคำนวณ... ป.6
เปิดดู 31 ครั้ง
เกมถอดรหัสลับวิทยาการคำนวณ
ปิยวัช เมฆวัน
วิทยาการคำนวณ... ป.6
เปิดดู 56 ครั้ง
แนวคิดในการแก้ปัญหา
นัฐวุฒิ แสนสุข
วิทยาการคำนวณ... ป.6
เปิดดู 39 ครั้ง
การแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
นัฐวุฒิ แสนสุข
วิทยาการคำนวณ... ป.6
เปิดดู 30 ครั้ง
อ้างจากหนังสือ
สุธารินีย์ สืบแสนกุล
วิทยาการคำนวณ... ป.6
เปิดดู 47 ครั้ง
การใช้งานโปรแกรม scratch เบื้องต้น
ทัศนีย์ แสนชมภู
วิทยาการคำนวณ... ป.6
เปิดดู 27 ครั้ง
ฝึกทักษะการเรียนรู้ การแก้ปัญหาด้วยโปรแกรม Scr
กันยกร เขมะสัจจกุล
วิทยาการคำนวณ... ป.6
เปิดดู 36 ครั้ง

OBEC PLAY Education Platform | Powered By Spirit Team