หลายท่านที่อ่านชื่อเรื่องของบทความนี้แล้วอาจสงสัยว่าคณิตศาสตร์เกี่ยวข้องกับศพอย่างไรในบทความนี้จะเสนอความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการสืบจากศพ นั่นคือ ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการทึม

       ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลเป็นฟังก์ชันที่มีความสำคัญในการศึกษาความรู้ในด้านต่าง ๆ เช่น อัตราการเพิ่มจำนวนของแบคที่เรีย อัตราการสลายตัวของยาในร่างกายของมนุษย์ การหายอดเงินฝากธนาคาร ส่วนฟังก์ชันลอการิทึมจะพบในการศึกษาวิทยาศาสตร์ในด้านต่าง ๆ เช่น ค่า pH  ระดับความเข้มเสียง โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงการนำความรู้เกี่ยวกับฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึมไปประยุกต์ใช้กับการหาระยะเวลาหลังการตาย

            ในปัจจุบันวิธีทางการแพทย์ต่าง ๆ ยังไม่สามารถตรวจหาระยะเวลาหลังการตายที่แน่นอนได้ โดยการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังการตายจะขึ้นกับสภาพสิ่งแวดล้อมและเวลาหลังการตาย ถ้าสภาพสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน การเปลี่ยนแปลงของร่างกายก็จะแตกต่างกันและถ้าตายมานานมากจะทำให้การหาระยะเวลาการตายมีความคลาดเคลื่อนมากด้วย

            การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิร่างกายของผู้ตายที่เกิดขึ้นหลังการตาย (post-mortem body cooling) สามารถนำไปใช้ทำนายระยะเวลาหลังการตายอย่างคร่าว ๆ โดยการเขียนฟังก์ชันของอุณหภูมิเทียบกับเวลาเมื่อกำหนดค่าคงตัว Z ดังนี้

            โดย T0 แทนอุณหภูมิร่างกายของคนทั่วไป TE แทนอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม Z แทนค่าคงตัวในที่นี้จะกำหนดให้ T0 แทนอุณหภูมิศีรษะของคนทั่วไป ซึ่งจะประมาณ 33 C และจากงานวิจัยกำหนดให้ Z เป็น 0.1 มีหน่วยเป็น 1/ชั่วโมง ถ้าอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม TE เป็น 15 C จะเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิศีรษะของผู้ตายและระยะเวลาหลังการตาย ได้ดังนี้

 

         จากกราฟจะเห็นว่าเมื่อเวลาผ่านไป อุณหภูมิศีรษะของผู้ตายก็จะลดลงจนเข้าใกล้อุณหภูมิสิ่งแวดล้อม

         การหาระยะเวลาหลังการตายข้างต้นเป็นเพียงการประเมินอย่างง่ายเท่านั้น เพราะยังไม่ได้คิดเงื่อนไขอื่น ๆ เช่น เสื้อผ้าท่าของผู้ตาย บริเวณที่ตาย ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการลดลงของอุณหภูมิด้วย ดังนั้น ถ้าจะหาเวลาการตายที่มีความคลาดเคลื่อนน้อย จะต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลังการตายอื่น ๆ มาประกอบกัน ได้แก่ การตกของเลือดตามแรงโน้มถ่วงการแข็งตัวของกล้ามเนื้อ อัตราการเน่า การเปลี่ยนแปลงทางเคมีในร่างกาย ปริมาณอาหารในกระเพาะ การเจริญเติบโตของตัวหนอน และวัตถุพยานในที่เกิดเหตุ

          จากตัวอย่างที่กล่าวมาคงจะตอบข้อสงสัยของทุกท่านแล้วนะคะว่าคณิตศาสตร์กับศพเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราอีกมากมาย ไว้ติดตามในโอกาสต่อไปค่ะ

         บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/


คณิตศาสตร์กับศพ
คณิตศาสตร์ ทุกระดับชั้น เปิดดู 37 ครั้ง

ช่องของ ครูพรรณวิภา พรพิรุณโรจน์

โรงเรียนโรงเรียนบ้านเชียงยืน สพป.อุดรธานี เขต 1





บทความคณิตศาสตร์กับศพ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/



แสดงความคิดเห็น




กิจกรรม กล่องหรรษา
วีรภัทร สารพัฒน์
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 35 ครั้ง
พีระมิด ep.1 ส่วนประกอบและการเรียกชื่อ
กฤษฎา นรินทร์
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 33 ครั้ง
ซูโดกุ
บัญชา ทองมี
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 38 ครั้ง
บทความ
พัชยา เอี่ยมแจ้งพันธุ์
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 29 ครั้ง
คณิตศาสตร์กับคดีฆาตกรรม
พรรณวิภา พรพิรุณโรจน์
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 57 ครั้ง
คณิตศาสตร์กับศพ
พรรณวิภา พรพิรุณโรจน์
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 37 ครั้ง
เทคนิคการเล่นซูโดกุ
บัญชา ทองมี
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 25 ครั้ง
การบวก
นางสาวณัฐนิชา ประทุมวัน
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 43 ครั้ง
EP.1 เศษส่วนชนิดของเศษส่วน By ครูพี่จิงนะจ๊ะ
ครูพี่จิง นะจ๊ะ
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 48 ครั้ง
เลขยกกำลัง ep.1 เลขยกกำลังคืออะไร
กฤษฎา นรินทร์
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 25 ครั้ง
บทความ แรงบันดาลใจในการสอนคณิตศาสตร์
มะลิวรรณ ศรีอุทธา
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 65 ครั้ง
EP.2 เศษส่วน ตอนที่ 2 จำนวนคละ และ เศษส่วนเกิน
ครูพี่จิง นะจ๊ะ
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 29 ครั้ง
การบวกเลข
นางสาวณัฐนิชา ประทุมวัน
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 44 ครั้ง

OBEC PLAY Education Platform | Powered By Spirit Team