ใบความรู้

ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์


ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย

เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้น อย่างไร

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรมี ทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ) การรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญและความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นรอง ในการ รวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้ว จึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควร เริ่มต้นจากผลการศึกษาของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริงการศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ ข้อมูลหลายประเภทขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ทั้งข้อมูลและ แหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์และถูกต้องเพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

วิพากษ์ วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบ คู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการ วิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอกการวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือ เพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายในการวิพากษ์ข้อมูล (internal

criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐานเพื่อประเมินว่าน่าเชื่อ ถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความ เป็นจริง

ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน

การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดย ดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรม ต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่งอาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตามในการ ตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้วยังมีความ หมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่

ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล

 จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้อง เรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้นในขั้นตอนนี้ ผู้ศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตีความมาวิเคราะห์ หรือแยกแยะเพื่อจัดแยกประเภทของเรื่องโดยเรื่องเดียวกันควรจัดไว้ด้วยกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน คือ เป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โดยอธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผล ทั้งนี้ผู้ศึกษาอาจนำเสนอเป็นเหตุการณ์พื้นฐานหรือเป็นเหตุการณ์เชิง วิเคราะห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา


แหล่งที่มา/อ้างอิง

https://sites.google.com › site › withi-kar-thang-prawatisastr



ใบความรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ วิชาประวัติศาสตร์ ป.5
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.5 เปิดดู 45 ครั้ง

ช่องของ ครูรัชนีกร พันลำภักดิ์

โรงเรียนโรงเรียนบ้านเม่น สพป.อุดรธานี เขต 1





วิธีการทางประวัติศาสตร์มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่

1. การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา
2. การรวบรวมหลักฐาน
3. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน หรือการวิพากษ์คุณค่าของหลักฐาน
4. การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล
5. การเรียบเรียงและนำเสนอ



แสดงความคิดเห็น




ใบความรู้วิธีการทางประวัติศาสตร์ วิชาประวัติศาส
รัชนีกร พันลำภักดิ์
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 45 ครั้ง
ช่องบทเรียนวิชาสังคม
รัชนีกร พันลำภักดิ์
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 30 ครั้ง
วิธีการทางประวัติศาสตร์ วิชาประวัติศาสตร์ ป.5
รัชนีกร พันลำภักดิ์
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 37 ครั้ง
อิทธิพลของอารยธรรมอินเดียที่มีต่อประเทศไทย วิชา
นางสาวปิยพร จตุรงค์
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 25 ครั้ง
ปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ ป.5
นางสาวปิยพร จตุรงค์
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 33 ครั้ง
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาสังคมศึกกษา ชั้นประถมศ
อัมรินทร์ สินชัย
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 38 ครั้ง
วิธีการทางประวัติศาสตร์ วิชาประวัติศาสตร์ ป.5
กฤษณา ลานนท์
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 39 ครั้ง
ช่องบทเรียนของฉัน
นางสาวปิยพร จตุรงค์
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 33 ครั้ง
พุทธประวัติ
สุวนันท์ ทองขาม
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 28 ครั้ง
ใบความรุู้ปัจจัยการผลิต
นางสาวปิยพร จตุรงค์
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 24 ครั้ง
พระเจ้าตากสิน
พิมล ป้องเรือ
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 30 ครั้ง
ปัจจัยการผลิตและการบริการ วิชาสังคมศึกษา
นางสาวปิยพร จตุรงค์
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 44 ครั้ง
การเสียกรุงศรีอยุธยา
พิมล ป้องเรือ
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 34 ครั้ง
ปัจจัยการผลิตและการบริการ ป.5
รัชนีกร พันลำภักดิ์
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 26 ครั้ง
วิธีการทางประวัติศาสตร์ วิชาประวัติศาสตร์ ป.5
นางสาวปิยพร จตุรงค์
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 30 ครั้ง
แบบทดสอบวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง
พิมล ป้องเรือ
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 23 ครั้ง
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พิมล ป้องเรือ
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 42 ครั้ง
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
พิมล ป้องเรือ
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 40 ครั้ง
สัตว์ที่น่ารู้จัก
พิมล ป้องเรือ
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 30 ครั้ง
วิจัยในชั้นเรียน
พิมล ป้องเรือ
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 37 ครั้ง
วิธีการทางประวัติศาสตร์ วิชาประวัติศาสตร์ ป.5
รัชนีกร พันลำภักดิ์
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 38 ครั้ง
เครื่องมือทางภูมิศาตร์
อัมรินทร์ สินชัย
สังคมศึกษา ศาสนา แ... ป.5
เปิดดู 51 ครั้ง

OBEC PLAY Education Platform | Powered By Spirit Team