การเรียนการสอนแบบ Active Learning
Active Learning
การเรียนการสอนแบบ Active Learning Active Learningคือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระท าและได้ใช้กระบวนการคิด
เกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระท าลงไป (Bonwell, 1991) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สมมติฐานพื้นฐาน 2
ประการคือ 1) การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์, และ 2) แต่ละบุคคลมีแนวทางในการ
เรียนรู้ที่แตกต่างกัน (Meyers and Jones, 1993) โดยผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้(receive)
ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้(co-creators)
( Fedler and Brent, 1996)
Active Learning จึงเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา
(Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้
หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้
แนะน า กระตุ้น หรืออ านวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง กล่าวคือ
ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ท าให้การเรียนรู้
เป็นไปอย่างมีความหมายและน าไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สถาพร พฤฑฒิกุล, 2558)
ลักษณะของการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นดังนี้ (ไชยยศ เรืองสุวรรณ,
2553)
1. เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา และการน าความรู้
ไปประยุกต์ใช้
2. เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด
3. ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน
ร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน
5. ผู้เรียนเรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการท างาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
6. เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิดอย่างลุ่มลึก ผู้เรียนจะเป็นผู้จัดระบบ
การเรียนรู้ด้วยตนเอง
7. เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง
8. เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูลข่าวสาร หรือสารสนเทศ และหลักการความคิด
รวบยอด
9. ผู้สอนจะเป็นผู้อ านวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
10. ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้เรียน |
แสดงความคิดเห็น
![]() |
รณชัย คำนวน วิทยาศาสตร์และเทคโ... ทุกระดับชั้น เปิดดู 29 ครั้ง |
![]() |
ดารารัตน์ หอมทรัพย์ วิทยาศาสตร์และเทคโ... ทุกระดับชั้น เปิดดู 39 ครั้ง |
![]() |
กาญจนา อัลฟ์ทเบิร์ก วิทยาศาสตร์และเทคโ... ทุกระดับชั้น เปิดดู 52 ครั้ง |
![]() |
กาญจนา อัลฟ์ทเบิร์ก วิทยาศาสตร์และเทคโ... ทุกระดับชั้น เปิดดู 26 ครั้ง |
![]() |
กาญจนา อัลฟ์ทเบิร์ก วิทยาศาสตร์และเทคโ... ทุกระดับชั้น เปิดดู 39 ครั้ง |
![]() |
พีรพล ภูโอบ วิทยาศาสตร์และเทคโ... ทุกระดับชั้น เปิดดู 29 ครั้ง |
![]() |
กัญญาณัฐ พวาศิริ วิทยาศาสตร์และเทคโ... ทุกระดับชั้น เปิดดู 41 ครั้ง |
![]() |
Sunisa Chawpracha วิทยาศาสตร์และเทคโ... ทุกระดับชั้น เปิดดู 25 ครั้ง |
OBEC PLAY Education Platform | Powered By Spirit Team