แรงบันดาลใจ ในการทำประเด็นท้าทาย

วิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

          ดิฉันนางสาวมะลิวรรณ ศรีอุทธา สอนอยู่โรงเรียนชุมชนกุดหมากไฟสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 1 เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล2 - ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนอื่นขอพูดถึงบริบทของโรงเรียนของเรา ส่วนใหญ่นักเรียนที่มาเรียนกับเราก็จะเป็นนักเรียนในชนบท นักเรียนที่มีความพร้อมทางด้านฐานะ ครอบครัวนะคะ ก็จะถูกส่งเข้าไปเรียนโรงเรียนใหญ่ๆนะคะ ส่วนนักเรียนที่ไม่มีความพร้อมทางด้านฐานะ ครอบครัว ก็จะส่งมาเรียนกับเรา นักเรียนก็จะมีทั้งนักเรียนที่เรียนเก่ง เรียนปานกลาง และเรียนอ่อนนะคะ นักเรียนที่เรียนเก่งจะมีอยู่ค่อนข้างน้อย นักเรียนที่เรียนปานกลางก็จะมีมากขึ้นมาหน่อย และก็จะมีนักเรียนที่เรียนอ่อนนะคะ ถ้าอัตราส่วนนักเรียนที่เรียนเก่งต่อปานกลางต่ออ่อน จะอยู่ที่อัตราส่วน 1 ต่อ 2 ต่อ 2

           ดิฉันได้เลือกทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ประเด็นท้าทาย ในหัวข้อการแก้ปัญหา ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาปริมาตรและความจุของรูปเรขาคณิตสามมิติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem based Learning : PBL) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ค่ะ

           แรงบันดาลใจที่เลือกประเด็นท้าทายเรื่องนี้ จะเห็นว่าในเรื่องการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ยากต่อความเข้าใจของนักเรียน ส่วนใหญ่เมื่อนักเรียนได้ยินเรื่องการแก้โจทย์ปัญหาแล้วนักเรียนมักจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่ยากนะคะ ซึ่งถ้าพูดถึงการแก้ปัญหานักเรียนก็จะรู้สึกว่ายาก ทั้งๆที่ยังไม่ได้เริ่มเรียนนะคะ ดิฉันอยากให้นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้น และอยากให้นักเรียนชอบหรือรักในวิชาคณิตศาสตร์ มองวิชาคณิตศาสตร์ว่าไม่ใช่เรื่องยาก อีกเหตุผลที่เลือกคือ จากการสอนปีการศึกษา 2563 ที่ผ่านมาจะพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเรื่องรูปเรขาคณิตสามมิติ ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ดิฉันก็ได้ไปศึกษาหัวข้อย่อยในหน่วยนี้ พบว่ามีเรื่องย่อย ได้แก่ ลักษณะและส่วนต่างๆของรูปทรงเรขาคณิตรูปคลี่ของรูปเรขาคณิตสาม ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก โจทย์ปัญหาปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก คะแนนรายละเอียดในเรื่องย่อยก็จะพบว่านักเรียนจะมีคะแนนการแก้โจทย์ปัญหาปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากค่อนข้างต่ำ นั่นหมายถึงนักเรียนมีข้อบกพร่องในส่วนของการแก้โจทย์ปัญหาปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

           ส่วนกิจกรรมการเรียนการสอน ใช้วิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem based Learning : PBL) จัดกลุ่มนักเรียนโดยคละความสามารถ ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มมีนักเรียนที่เรียนเก่ง เรียนปานกลาง และเรียนอ่อนอยู่ด้วยกัน เพื่อให้นักเรียนในกลุ่มได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การที่นักเรียนได้อธิบายกันเอง ได้พูดคุยซักถามกันเองอาจจะเกิดความเข้าใจมากกว่าที่ครูจะเป็นผู้อธิบายหรือนักเรียนบางคนไม่กล้าที่จะถามครู อายที่จะถามครู ก็จะได้ถามเพื่อนนะคะ ซึ่งคนที่เรียนเก่งก็จะได้ช่วยอธิบายเพื่อนที่เรียนปานกลางและเรียนอ่อน ให้เข้าใจ คนที่เรียนอ่อนก็จะได้ปรึกษาและได้ซักถามเพื่อนที่เรียนเก่ง ส่วนวิธีการสอน ดิฉันได้ใช้วิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ซึ่งดิฉันมองว่า ปัญหาจะเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น ยิ่งถ้าเป็นปัญหาที่ใกล้ตัวนักเรียนแล้ว นักเรียนจะเห็นว่าคณิตศาสตร์สำคัญและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ยิ่งจะทำให้นักเรียนสนใจเรียน และสนใจที่จะหาคำตอบนั้นให้ได้

          ซึ่งดิฉันได้ยกสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนที่นักเรียนได้พบเจอพบเห็นในโรงเรียน สถานการณ์ปัญหาที่หยิบยกขึ้นมาเป็นคำถาม คือรุ่นพี่นักเรียน ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เขากำลังทำอิฐบล็อกเพื่อปูทางเดินระหว่างโรงอาหารกับอาคารเรียน ถามว่าพี่ ม.3 ต้องใช้ปูนผสมเสร็จเท่าไหร่ ถึงจะทำทางเดินเสร็จ ก็เป็นคำถามที่ใกล้ตัวนักเรียนมากๆ นะคะ

          ซึ่งก่อนที่จะได้นำแผนนี้มาใช้นะคะ ก็ได้ผ่านการวิเคราะห์โดยใช้กระบวนการของ PLC หรือว่าชุมชนแห่งการเรียนรู้ซึ่งได้จัดทำขึ้นระหว่างครูกลุ่มสาระคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์และได้รับคำแนะนำนะคะจากคุณครูผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการสอนและผ่านความคิดเห็นของท่านผู้อำนวยการโรงเรียน ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมจากศึกษานิเทศก์ประจำกลุ่ม ก่อนที่จะได้นำแผนนี้มาใช้กับผู้เรียน

           ในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น นักเรียนมีความกระตือรือร้นสนใจในการทำกิจกรรมกลุ่ม จะเห็นว่านักเรียนแต่ลุกลุ่มให้ความร่วมมือกันอย่างดี มีการปรึกษาหารือซึ่งกันและกันภายในกลุ่ม มีการอธิบายให้กันฟัง โดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา แต่ละกลุ่มทำเสร็จก็จะให้คัดเลือกตัวแทนออกมานำเสนอ อธิบายให้เพื่อนในห้องได้ฟัง ซึ่งจะเห็นว่าในระหว่างที่นำเสนอเพื่อนในห้อง กลุ่มอื่นๆ และครู ก็จะช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องของกลุ่มที่นำเสนอ ว่าถูกหรือผิด

           ผลจากการทำกิจกรรมนะคะก็พบว่านักเรียนทุกกลุ่มทำงานได้ถูกต้องนะคะ มีการให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี ในการทำกิจกรรม หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ ครูก็จะให้นักเรียนได้ทำแบบฝึกหัดนะคะในหนังสือเรียนของตัวเองเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนและคงทนมากขึ้นนะคะ และก็จะมีแบบประเมินสังเกตพฤติกรรมการทำงานในห้องเรียนและการทำงานกลุ่มนะคะว่านักเรียนได้ผ่านผลการประเมินที่ตั้งไว้หรือไม่นะคะ

            การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดหน่วยการเรียนรู้เรื่องรูปเรขาคณิตสามมิติมีการใช้สื่อการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นรูปประธรรมสื่อ PowerPoint และอื่นๆซึ่งเป็นการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนรวมทั้งมีการวัดและประเมินผลจากจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้โดยจะมีเกณฑ์การประเมินผลจากร่องรอยหลักฐานการเรียนรู้ของผู้เรียนและการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน

            พบว่านักเรียนผ่านการประเมินหลังจากการทำกิจกรรมครบถ้วนร้อยเปอร์เซ็นต์ จากที่ได้จัดกิจกรรมในหน่วยการเรียนรู้เรื่องรูปเรขาคณิตสามมิตินี้นะคะก็พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจบหน่วยการเรียนรู้มีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าปีการศึกษา 2563 ตามที่ได้ตั้งจุดประสงค์ไว้



บทความ แรงบันดาลใจในการสอนคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ ทุกระดับชั้น เปิดดู 65 ครั้ง

ช่องของ ครูมะลิวรรณ ศรีอุทธา

โรงเรียนโรงเรียนชุมชนกุดหมากไฟ สพป.อุดรธานี เขต 1





บทความ แรงบันดาลใจในการสอนคณิตศาสตร์ ประเด็นท้าทาย ในหัวข้อการแก้ปัญหา ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาปริมาตรและความจุของรูปเรขาคณิตสามมิติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem based Learning : PBL)



แสดงความคิดเห็น




EP.2 เศษส่วน ตอนที่ 2 จำนวนคละ และ เศษส่วนเกิน
ครูพี่จิง นะจ๊ะ
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 29 ครั้ง
พีระมิด ep.1 ส่วนประกอบและการเรียกชื่อ
กฤษฎา นรินทร์
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 33 ครั้ง
เทคนิคการเล่นซูโดกุ
บัญชา ทองมี
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 25 ครั้ง
คณิตศาสตร์กับศพ
พรรณวิภา พรพิรุณโรจน์
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 37 ครั้ง
กิจกรรม กล่องหรรษา
วีรภัทร สารพัฒน์
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 35 ครั้ง
เลขยกกำลัง ep.1 เลขยกกำลังคืออะไร
กฤษฎา นรินทร์
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 25 ครั้ง
คณิตศาสตร์กับคดีฆาตกรรม
พรรณวิภา พรพิรุณโรจน์
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 57 ครั้ง
EP.1 เศษส่วนชนิดของเศษส่วน By ครูพี่จิงนะจ๊ะ
ครูพี่จิง นะจ๊ะ
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 48 ครั้ง
การบวก
นางสาวณัฐนิชา ประทุมวัน
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 43 ครั้ง
บทความ
พัชยา เอี่ยมแจ้งพันธุ์
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 29 ครั้ง
การบวกเลข
นางสาวณัฐนิชา ประทุมวัน
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 44 ครั้ง
บทความ แรงบันดาลใจในการสอนคณิตศาสตร์
มะลิวรรณ ศรีอุทธา
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 65 ครั้ง
ซูโดกุ
บัญชา ทองมี
คณิตศาสตร์... ทุกระดับชั้น
เปิดดู 38 ครั้ง

OBEC PLAY Education Platform | Powered By Spirit Team